Page 33 - kpiebook63009
P. 33
33
5.1.2 กลุ่มตัวอย่างสำาหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ประชาชนซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง
ทั้ง 4 เขต จำานวน 402 ตัวอย่าง
5.2 กำรเก็บรวบรวมข้อมูล อาศัยวิธีการศึกษาทั้งเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณเป็นเครื่องมือสำาคัญ
ในการศึกษา โดยแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
5.2.1 การศึกษาเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ข้อมูลเชิงพื้นที่
ในจังหวัดสุพรรณบุรี เช่น ข้อมูลประชากร ข้อมูลพรรคการเมืองที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งในจังหวัดสุพรรณบุรี
ทั้งในการเลือกตั้งปัจจุบัน และการเลือกตั้งในอดีต และข้อมูลประวัติผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง และผลการเลือกตั้ง
ย้อนหลัง 3 ครั้งในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี
5.2.2 การเก็บข้อมูลภาคสนาม แบ่งออกเป็น 3 วิธี คือ
1) การสัมภาษณ์เจาะลึกบุคคลที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้อำานวยการ
การเลือกตั้งประจำาจังหวัดสุพรรณบุรี ผู้อำานวยการการเลือกตั้งประจำาเขตเลือกตั้ง
คณะกรรมการประจำาหน่วยเลือกตั้ง นักการเมืองระดับท้องถิ่น กำานัน ผู้ใหญ่บ้าน
นักธุรกิจ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นำาชุมชน องค์กรตรวจสอบการเลือกตั้ง ตลอดจนประชาชน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในจังหวัดสุพรรณบุรี
2) การเก็บข้อมูลจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่เลือกตั้งเขตต่างๆ ทั้ง 4 เขต
โดยใช้แบบสอบถาม
3) การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม โดยเป็นการสังเกต บันทึก และวิเคราะห์
บรรยากาศทั่วไป พฤติกรรมทางการเมืองของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง บทบาท
ของหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องกับ
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน ในช่วงก่อน
การเลือกตั้ง ช่วงการเลือกตั้ง และช่วงหลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
5.3 เครื่องมือที่ใช้ในกำรวิจัย ประกอบด้วย
5.3.1 แบบสัมภำษณ์ ใช้สัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องต่างๆ โดยแบ่งออกเป็น 4 ชุด คือ แบบสัมภาษณ์
สำาหรับผู้สมัครรับเลือกตั้ง แบบสัมภาษณ์สำาหรับผู้อำานวยการการเลือกตั้งประจำาจังหวัด แบบสัมภาษณ์สำาหรับ
ผู้อำานวยการการเลือกตั้งประจำาเขตเลือกตั้ง/คณะกรรมการประจำาหน่วยเลือกตั้ง และแบบสัมภาษณ์สำาหรับ
ผู้ทรงคุณวุฒิ และอื่นๆ