Page 28 - kpiebook63009
P. 28

28       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุพรรณบุรี







             และพรรคเสรีธรรม โดยผู้ที่ได้รับเลือกตั้งให้ดำารงตำาแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนี้ ประกอบด้วยตระกูล

             “ศิลปอาชา” 3 คน คือ นายบรรหาร ศิลปอาชา  นายวราวุธ ศิลปอาชา  และนางสาวกัญจนา ศิลปอาชา
             ตระกูล “ประเสริฐสุวรรณ” คือ นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ  ตระกูล “โพธสุธน” คือ นายประภัตร โพธสุธน

             และตระกูล “เที่ยงธรรม” คือ นายจองชัย เที่ยงธรรม ต่อมาเมื่อมีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ
             วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 มีพรรคการเมืองส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งลดลงมาเหลือเพียง 3 พรรค ประกอบด้วย

             พรรคชาติไทย ไทยรักไทย และประชาธิปัตย์ โดยผู้ที่ได้รับเลือกตั้งให้ดำารงตำาแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
             ในครั้งนี้ประกอบด้วยตระกูล “ศิลปอาชา” 3 คน คือ นายบรรหาร ศิลปอาชา  นายวราวุธ ศิลปอาชา  และ

             นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา  ตระกูล “ประเสริฐสุวรรณ” คือ นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ  ตระกูล “โพธสุธน”
             คือ นายยุทธนา โพธสุธน และตระกูล “เที่ยงธรรม” คือ นายเสมอกัน เที่ยงธรรม ส่วนการเลือกตั้งเมื่อวันที่

             23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 มีพรรคการเมืองต่างๆ ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งจำานวน 8 พรรค ประกอบด้วย พรรคชาติไทย
             พลังประชาชน ไทยรำ่ารวย เครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย ประชามติ ประชาธิปัตย์ ความหวังใหม่

             และเพื่อแผ่นดิน ซึ่งจะพบข้อเท็จจริงต่อมาคือ ประชาชนที่มาใช้สิทธิเลือกตั้งนั้น จะใช้สิทธิลงคะแนนเสียงให้กับ
             ผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคชาติไทยด้วยคะแนนที่ทิ้งห่างจากผู้สมัครรับเลือกตั้งจากพรรคการเมือง

             อื่นๆ อย่างมากมาย โดยวิธีการที่ใช้ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งจะใช้ทั้งการปราศรัย การแจกเอกสาร แผ่นพับ
             แผ่นปลิว และป้ายโปสเตอร์ ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตามในส่วนของการจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองยังมีน้อยมาก

             (ฐปนรรต พรหมอินทร์ 2547: บทคัดย่อ) ทั้งนี้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้รับเลือกตั้งก็ยังคือคนเดิม ประกอบ
             ด้วยตระกูล “ศิลปอาชา” 2 คน คือ นายบรรหาร ศิลปอาชา และนายวราวุธ ศิลปอาชา นอกจากนั้นยังเป็น

             พื้นที่ของตระกูลเดิม คือ ตระกูล “ประเสริฐสุวรรณ” คือ นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ ตระกูล “โพธสุธน”
             คือ นายยุทธนา โพธสุธน และตระกูล “เที่ยงธรรม” คือนายเสมอกัน เที่ยงธรรม อย่างไรก็ตามต่อมา

                                                                                                       2
             ผู้ได้รับเลือกตั้งทั้ง 5 คนถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ทำาให้ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งแทนประกอบไปด้วย
             นายนิติวัฒน์ จันทร์สว่าง นายชาญชัย ประเสริฐสุวรรณ นายนพดล มาตรศรี และนายเจรจา เที่ยงธรรม


                      ส่วนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่าเป็น

             พื้นที่ของชาติไทยพัฒนาเพียง 4 เขต คือ เขตเลือกตั้งที่ 1-4 ส่วนเขตเลือกตั้งที่ 5 เป็นชัยชนะของพรรคเพื่อไทย
             (ฐปนรรต พรหมอินทร์ 2558: ฉ) ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่ตระกูล “ศิลปอาชา” มิได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง

             ในระบบเขตเลือกตั้งหลังจากที่ตระกูลนี้ได้รับการเลือกตั้งมาอย่างยาวนาน เหตุการณ์นี้อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการที่
             ทำาให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีมีความห่างเหินกับตระกูล “ศิลปอาชา” เนื่องด้วย

             ตระกูล “ศิลปอาชา” ไม่ได้ส่งบุคคลในตระกูลนี้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง การเลือกตั้งครั้งนี้
             ตระกูลที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง และได้รับเลือกตั้งประกอบด้วยเขตเลือกตั้งที่ 2 ตระกูล “ประเสริฐสุวรรณ”

             คือ นายชาญชัย ประเสริฐสุวรรณ เขตเลือกตั้งที่ 4 ตระกูล “โพธสุธน” คือ นางสาวพัชรี โพธสุธน ขณะที่
             มีผู้สมัครรับเลือกตั้งระดับชาติตระกูลใหม่ขึ้นมาในเขตเลือกตั้งที่ 1 คือ ตระกูล “สุจิตต์” คือ นายสรชัด สุจิตต์


             2   https://th.wikipedia.org/wiki/สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33