Page 26 - kpiebook63009
P. 26

26       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุพรรณบุรี







                      การเลือกตั้งที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2562 เป็นการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ประเทศไทย

             ไม่ได้มีการเลือกตั้งติดต่อกันถึงระยะเวลา 8 ปี ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในโครงสร้าง
             ของทางอำานาจ และโครงสร้างของสถาบันการเมืองไทยอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน


                      ในส่วนของโครงสร้างทางอำานาจนั้น การเว้นว่างของการเลือกตั้งในห้วงระยะเวลา 8 ปีนี้ ส่วนหนึ่ง

             เป็นผลมาจากการรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องในบริบทของความขัดแย้ง
             ทางการเมืองในประเทศไทยในช่วงระยะเวลากว่าทศวรรษก่อนหน้านั้น โดยชนวนของความขัดแย้งล่าสุด

             อยู่ที่เรื่องพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ซึ่งได้นำาไปสู่การต่อต้านรัฐบาล เหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง
             และการใช้ความรุนแรงทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่หลายเมืองในประเทศไทย


                      ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของความสัมพันธ์ทางอำานาจ

             ของประเทศไทยหลายประการ ทั้งการเกิดขึ้นของกลุ่มการเมืองโดยคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลง
             ปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.)
             ที่ประสบความสำาเร็จในการระดมความสนับสนุนจากทั่วประเทศ ต่อเนื่องมาจนถึงการรัฐประหาร และแม้กระทั่ง

             ช่วงหลังรัฐประหาร ก็ยังมีการแสดงออกทางการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ และปฏิกิริยาโต้ตอบของรัฐบาล

             ในการจำากัดการแสดงออกทางการเมือง เช่น การเรียกพบนักการเมืองที่มีบทบาทเด่น การส่งทหารไปเฝ้าระวัง
             ที่บ้านนักการเมือง หรือเรียกตัวนักการเมืองเข้าพบคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อปรับทัศนคติ
             ซึ่งเกิดควบคู่กับการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ของกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร เช่น กลุ่มประชาธิปไตยใหม่

             และกลุ่มอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ได้มีการเสริมบทบาทของข้าราชการ โดยมี

             การโยกย้ายสับเปลี่ยนข้าราชการหลายคนให้เข้าไปทำางานด้านยุทธศาสตร์ชาติ ตลอดจนการสนับสนุนบทบาท
             ที่เด่นชัดมากขึ้นให้กับสำานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น


                      แม้จะมีการจำากัดการแสดงออกทางการเมือง แต่ในระยะเวลาที่ผ่านมากลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ
             หลายกลุ่ม ประสบความสำาเร็จในการสร้างความเป็นสถาบันทางการเมืองให้กับตนเอง โดยพัฒนา

             ไปเป็นพรรคการเมือง เช่น กลุ่ม กปปส. ที่กลายไปเป็นพรรครวมพลังประชาชาติไทย กลุ่มของนายไพบูลย์

             นิติตะวัน ที่ได้พัฒนาไปเป็นพรรคประชาชนปฏิรูป และกลุ่มที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของ 4 รัฐมนตรี ได้แก่
             พรรคพลังประชารัฐ ตลอดจนมีกลุ่มนักกิจกรรมสังคมที่มีความสนใจที่จะตั้งพรรคการเมือง เช่น พรรคอนาคตใหม่
             ที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และนายปิยบุตร แสงกนกกุล เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรค และการประกาศเปลี่ยน

             อุดมการณ์เพื่อย้ายพรรคการเมืองของนักการเมืองหลายคน เช่น นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ นายนคร มาฉิม

             นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เป็นต้น

                      นอกจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองแล้ว ในส่วนของรัฐบาลเองได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ

             แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญอีก 3 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติ
             ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย

             คณะกรรมการการเลือกตั้ง และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31