Page 78 - kpiebook63008
P. 78
78 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี
ในขณะที่ความหลากหลายภูมิหลังด้านอาชีพหรือการทำางานนั้น มีความหลากหลายค่อนข้างสูง ประกอบด้วย
อดีตนายทหาร ตำารวจ กำานัน ผู้ใหญ่บ้าน ทนายความ ผู้ดำาเนินรายการวิทยุ นักธุรกิจ
ประการที่สาม การแข่งขันทางการเมืองทั้งในส่วนที่สามารถเห็นได้ชัดเจน เช่น การรณรงค์หาเสียง
เลือกตั้ง กลยุทธ์ วิธีการ การนำาเสนอนโยบาย ตลอดจนกรณีที่มิได้ปรากฏหรือปิดบังอยู่ เช่น การซื้อเสียง
การใช้อิทธิพลของหน่วยงาน การแทรกแซงด้วยวิธีการต่าง ๆ เป็นต้น
ในสนามการเลือกตั้งจังหวัดกาญจนบุรี 20 มีนาคม 2562 นั้น นโยบายของพรรคการเมือง
นับเป็นยุทธศาสตร์สำาคัญที่มีผลในทางการเมืองค่อนข้างมากกล่าว และเป็นที่ตระหนักกันดีของผู้สมัคร ส.ส.
ทุกพรรคการเมืองไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กก็ตาม ทั้งนี้เพื่อให้สามารถทำาการวิเคราะห์
ได้ชัดเจนขึ้น ผู้วิจัยจึงทำาการแบ่งกลุ่มนักการเมือง โดยจะพบว่า นักการเมืองและพรรคการเมืองขนาดใหญ่
กลุ่มนี้ ประกอบด้วยผู้สมัคร ส.ส. และพรรคการเมืองสำาคัญ 4 พรรค ได้แก่ พรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาธิปัตย์
พรรคภูมิใจไทย และพรรคไทยรักษาชาติ ในกลุ่มผู้สมัคร ส.ส. และพรรคการเมืองดังกล่าวนี้ แต่ละพรรคการเมือง
และผู้สมัคร ส.ส. ล้วนแล้วแต่มีความพร้อมรวมถึงการได้รับการสนับสนุนจากพรรคฯ อย่างเต็มที่ ด้วยมีความโดดเด่น
ด้านคุณสมบัติส่วนบุคคล อันประกอบด้วย ภูมิหลังครอบครัว ประวัติการศึกษา ประสบการณ์ทางการเมืองและ
ความสำาเร็จในอาชีพการงาน องค์ประกอบดังกล่าวข้างต้นทำาให้ผู้สมัคร ส.ส. กลุ่มนี้มีความโดดเด่นและความได้เปรียบ
ในด้านการเป็นที่รู้จัก คุ้นเคยของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก
สำาหรับผู้สมัคร ส.ส. จากพรรคพลังประชารัฐในแต่ละเขตการเลือกตั้งทั้ง 5 เขตนั้น ล้วนแล้วแต่
เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง มีประสบการณ์และผลงานทางด้านการเมืองทั้งในระดับพื้นที่และชุมชนมาก่อน
เช่น พลเอกสมชาย วิษณุวงษ์ (เขต 1) ภูมิหลังเป็นที่ประจักษ์ชัดในความสำาเร็จของชีวิตรับราชการทหาร
ขณะเดียวกันก็ประสบความสำาเร็จทางการเมืองด้วยการเป็นอดีต ส.ส. ปี 2548 พรรคไทยรักไทย ปี 2550
พรรคพลังประชาชน และปี 2554 พรรคเพื่อไทย (สำานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำาจังหวัดกาญจนบุรี
ออนไลน์, มปป.ข) หากแต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้ได้ย้ายพรรค ความสำาคัญจึงอยู่ตรงที่ว่าจะสามารถรักษาคะแนนเสียงหรือ
ฐานเสียงที่เคยได้รับการสนับสนุนมากน้อยเพียงใดเท่านั้น โดยที่ชัยชนะในการเลือกตั้งใน 3 ครั้งที่ผ่านมานั้น ปฏิเสธไม่ได้
ถึงปัจจัยสำาคัญจากการสนับสนุนของประชาชนที่มีต่อกระแสความนิยมที่มีต่อนายทักษิณ ชินวัตร และตระกูล
ครอบครัวชินวัตรอันเนื่องมาจากความนิยมและความเชื่อที่มีต่อความสำาเร็จในการบริหารเศรษฐกิจ แม้ว่า
ในข้อเท็จจริงแล้วจะได้รับความการวิพากษ์วิจารณ์ในด้านลบหรือโต้แย้งจากคนกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมจำานวน
มากก็ตาม (อนุชา นามสมมติ และสำารวย นามสมมติ, สัมภาษณ์ 2562) อย่างไรก็ตามด้วยการทำากิจกรรมร่วม
กับท้องถิ่นชุมชนและชาวบ้านในพื้นที่เป็นเวลานานทั้งก่อนและหลังการเกษียรอายุราชการทำาให้ชาวบ้านรู้จัก
และคุ้นเคย รวมถึงการเข้าสู่สนามการเมืองครั้งแรกด้วยการลงสมัคร สว. ในปี 2550 การทำากิจกรรมในพื้นที่
กับท้องถิ่นและชุมชนในระยะเวลาที่ยาวนานของพลเอกสมชาย พิษณุวงศ์ นับเป็นกลยุทธ์และวิธีการสำาคัญ
ที่ประชาชนให้การสนับสนุนและตัดสินใจลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง ส.ส. และกลยุทธ์ดังกล่าวได้นำามาใช้
ร่วมกับการนำาเสนอนโยบายของพรรคพลังประชารัฐ