Page 82 - kpiebook63008
P. 82
82 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี
ประการที่สี่ บทบาทองค์กรภาคเอกชนและภาคประชาสังคม (ภาคประชาชน) ในการติดตามการเลือกตั้ง
ในประการแรกซึ่ง กกต.จังหวัดกาญจนบุรีนำามาใช้การกำากับดูแลการหาเสียงเลือกนั้นได้รับ
ความร่วมมือจากบรรดาผู้สมัคร ส.ส. และพรรคการเมืองเป็นอย่างดี ด้วยการเข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังคำาชี้แจง
ความเข้าใจในระเบียบ กฎเกณฑ์และเงื่อนไข การประชุมดังกล่าวนับเป็นการดำาเนินการรูปแบบที่เป็นทางการ
เช่นเดียวกับประการที่สอง คือการกำากับดูแลการเลือกตั้งโดยการให้ผู้สมัคร ส.ส. จัดทำารายงานค่าใช้จ่าย
ในการเลือกตั้ง ซึ่งการรายงานข้อมูลค่าใช้จ่ายจากผู้สมัคร ส.ส.ที่สังกัดพรรคการเมืองขนาดเล็กและมิได้เป็น
ผู้สมัครที่มีชื่อเสียงมากนักนั้น มิได้เป็นปัญหาที่อาจนำามาสู่ข้อสงสัยว่าที่ว่า ข้อมูลค่าใช้จ่ายดังกล่าวนั้นตรงตาม
ความเป็นจริงหรือไม่ โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า “อาจมีการใช้จ่ายเงินสูงกว่าข้อกำาหนดของกฎหมายการเลือกตั้ง”
ด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าผู้สมัคร ส.ส. จากพรรคขนาดเล็กนั้นโดยภูมิหลังและพื้นฐานทางการเมือง
ในพื้นที่แล้วมิใช่ผู้สมัคร ส.ส.ที่มีโอกาสในการชนะการเลือกตั้งมากนัก ดังนั้นเมื่อโอกาสดังกล่าวมีน้อย ความคาดหวัง
ในผลการเลือกตั้งจึงมีน้อย ทำาให้การใช้จ่ายเงินเพื่อเป้าหมายชนะการเลือกตั้งจึงไม่ใช่ปัจจัยเพียงพอที่จะทำาให้
ต้องใช้จ่ายเงินเพื่อเป้าหมายดังกล่าว ในขณะเดียวกันสำาหรับผู้สมัคร ส.ส. สังกัดพรรคการเมืองขนาดใหญ่และ
มีชื่อเสียง เป็นบุคคลสำาคัญที่ได้รับการคาดหมายในการเลือกตั้งว่า มีโอกาสสูงที่จะชนะการเลือกตั้ง ผู้สมัครฯ
ในกลุ่มนี้จึงมักมีข้อสงสัยว่า การรายงานข้อมูลค่าใช้จ่ายเงินในการหาเสียงนั้นเป็นไปตามข้อเท็จจริงที่ได้ใช้จ่ายเงิน
ไปมากน้อยเพียงใด ซึ่งในทางปฏิบัติกับข้อมูลที่รายงานต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำาจังหวัดนั้น
อาจไม่สอดคล้องหรือไม่ตรงกัน เป็นเรื่องยุ่งยากและมีความซับซ้อนในการหาข้อมูลที่เป็นหลักฐานมาพิจารณา
หรือยืนยัน (เจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี และอดีตสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำาบลหลายสมัย
ในองค์กรปกครองท้องถิ่นแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี, สัมภาษณ์ 2562)
สำาหรับประเด็นที่สามและที่สี่นั้น ในพื้นที่เลือกตั้งมักปรากฏเพียงข้อมูลในลักษณะคำารำ่าลือหรือ
พูดกันไปมาเกี่ยวกับการซื้อเสียง หากแต่ในข้อเท็จจริงก็ยังไม่สามารถปราฏหลักฐานที่อาจนำาไปสู่การดำาเนินการ
ต่อได้แต่ประการใด
อิทธิพลกำรใช้จ่ำยเงินของผู้สมัครและพรรคกำรเมืองต่อประชำชน และ
ผลกำรเลือกตั้ง 33
ในประเด็นดังกล่าวนี้ รูปแบบและวิธีการหาเสียงของผู้สมัคร ส.ส. ในภาพรวมนั้นมีการใช้เงิน
ที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “การซื้อเสียง” นับว่ามีน้อยมาก ด้วยคู่แข่งขันทางการเมืองที่มีความโดดเด่นในแต่ละ
เขตการเลือกตั้งมีไม่มากนัก ที่สำาคัญยังเป็นผลจากการที่พรรคไทยรักษาชาติถูกคำาสั่งศาลตัดสินยุบพรรค ดังนั้น
ความเด่นชัดของฐานเสียงหรือกลุ่มผู้สนับสนุนของผู้สมัคร ส.ส. จึงค่อนข้างชัดเจน การใช้เงินในการเลือกตั้ง
33 ประกอบด้วยการใช้จ่ายเงินที่ถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมาย การซื้อสิทธิขายเสียง รูปแบบหรือกระบวนการ การให้ผล
ประโยชน์อื่นนอกจากตัวเงิน รูปแบบการเลือกผลประโยชน์