Page 86 - kpiebook63008
P. 86
86 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี
การเข้าใจในความสำาคัญและบทบาทของผู้ใหญ่บ้านรวมถึงผู้นำาชาวบ้านในพื้นที่เลือกตั้งจังหวัด
กาญจนบุรี ทำาให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งฯ หรือนักการเมืองในพื้นที่ดำาเนินกิจกรรมทางการเมืองในหมู่บ้าน
ตำาบลและอำาเภอไว้ล่วงหน้าเป็นเวลานาน ซึ่งนักการเมืองแต่ละกลุ่มและต่างพรรคล้วนแล้วแต่ใช้วิธีการ
ไม่แตกต่างกันมากนัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะทางการเงินของผู้ประสงค์ที่จะลงสู่สนามเลือกตั้ง และการวางแผนดำาเนินการ
ดังกล่าวเป็นการดำาเนินการล่วงหน้าก่อนการประกาศวันสมัครเลือกตั้งทั้งสิ้น ค่าใช้จ่ายในการดำาเนินกิจกรรม
ทางการเมืองดังกล่าวจึงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างมาก และภายหลังการเกิดขึ้นขององค์กรปกครองถิ่น (อปท.)
ยิ่งมากกว่าเดิม ด้วยเหตุผลที่ว่า จากการมีผู้นำาเพียงไม่กี่กลุ่มหรือกี่คน มีเพียงผู้ใหญ่บ้านและผู้นำาที่ไม่เป็นทางการ
ที่ได้รับการยอมรับ กลายเป็นการมีผู้นำาในส่วนขององค์กรปกครองท้องถิ่นเพิ่มขึ้น ค่าใช้ในการดำาเนินกิจกรรม
ทางการเมืองจึงเพิ่มขึ้นตามมาด้วย
การใช้จ่ายเงินดังกล่าวจะปรากฏผ่านรูปแบบการดูแลผู้ซึ่งจะมาเป็นหัวคะแนนของตนในอนาคต
กล่าวคือเป็นการใช้จ่ายเงินเพื่อสนับสนุนการเลือกตั้งผู้นำาหมู่บ้าน และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำาบล หรือ
เทศบาล และหากคนเหล่านั้นประสบความสำาเร็จชนะเลือกตั้งฯ ก็หมายความว่าคนเหล่านั้นย่อมผูกผันใกล้ชิด
และพร้อมที่จะให้การสนับสนุนหรือช่วยเหลือในการหาเสียงเมื่อถึงเวลาการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
อย่างไรก็ตามด้วยพัฒนาการทางเศรษฐกิจ สังคมและการรับรู้ความสำาคัญของการเลือกตั้งที่เปลี่ยนแปลง
ไปจากอดีตของประชาชนในพื้นที่ ผลการเลือกตั้งที่ถูกกล่าวถึงเช่นในอดีต “นอนมา” จึงมิใช่สิ่งที่แน่นอนตายตัว
อีกต่อไป ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประชาชนในพื้นที่เลือกตั้งมี “ทางเลือก” หรือ “ตัวเลือก” มากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งหากผู้สมัครรับเลือกตั้งฯ ดำาเนินกิจกรรมด้วยการลงพื้นที่และทำากิจกรรมการเมือง หรือแม้แต่กิจกรรม
ทางสังคมร่วมกับชาวบ้านอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน แต่สำาหรับผลการเลือกตั้ง 24 มีนาคมนั้น ด้วยสถานการณ์
ทางการเมืองที่มิได้มีลักษณะปกติ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับกลไกอำานาจรัฐ ความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์
ระหว่างนักการเมืองผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง และบารมีทางการเมืองของพรรคการเมืองที่สังกัด รวมถึงระบบและ
กลไกราชการ ทำาให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มีสายสัมพันธ์ลึกซึ้งกับผู้นำาในพื้นที่ชุมชนหมู่บ้านประสบความสำาเร็จ
ในการเลือกตั้งมากกว่าผู้สมัครจากพรรคการเมืองอื่น
จากที่กล่าวข้างต้น การใช้จ่ายเงินในการหาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งฯ ในการเลือกตั้ง
24 มีนาคม 2562 นั้นมิได้เกิดขึ้นโดยตรงในช่วงวันใกล้เลือกตั้ง หรือแม้กระทั่งวันเลือกตั้ง หากแต่มีการใช้จ่ายเงิน
ผ่านการสร้างเครือข่ายผู้สนับสนุนทางการเมือง โดยผ่านกิจกรรมของชุมชนหมู่บ้านในหลากหลายรูปแบบ
ผ่านระบบหัวคะแนน กล่าวได้ว่าเป็น “ปฏิบัติการทางการเมือง” (political action) ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ที่ได้เรียนรู้ สั่งสมประสบการณ์และบารมีทางการเมืองที่สำาคัญที่สุดของการเมืองในโลกความเป็นจริงของระบบ
การหาเสียงเลือกตั้งที่ต้องแนบแน่นและสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้นำาหมู่บ้าน ผู้นำาชุมชนและเข้าใจการเมืองของชาวบ้าน