Page 81 - kpiebook63008
P. 81

81








                  การเลือกตั้ง (กกต.) ในช่วงเวลาต่าง ๆ นำาไปสู่ความสับสนและความขัดแย้งทางความคิดเป็นอย่างมาก กล่าว

                  คือ ช่วงแรกภายหลังการประกาศกำาหนดให้มีการเลือกตั้ง ผู้ที่มีความประสงค์ในการเลือกตั้งได้เกิดข้อสงสัย
                  หลายประการ ซึ่งมีผลต่อรูปแบบ วิธีการและกลยุทธ์การหาเสียง ด้วยในทางปฏิบัติรูปแบบที่ผู้สมัคร ส.ส.

                  ส่วนใหญ่เลือกใช้ ประกอบด้วย  ประการแรก การติดป้ายโฆษณาหาเสียง ขนาดของโปสเตอร์หรือป้ายคัตเอ้าท์
                  และพื้นที่ติดตั้ง ประการที่สอง การลงพื้นที่หาเสียงกับชาวบ้านผ่านกิจกรรมของชุมชนหมู่บ้าน ภายใต้วัฒนธรรม

                  จารีต ประเพณีและความเชื่อของคนในพื้นที่ ผ่านงานบุญหรือพิธีกรรม เช่น งานบวช งานทำาบุญขึ้นบ้านใหม่
                  งานวัดประจำาปีเพื่อบูรณะหรือปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญ และพระอุโบสถ รวมถึงงานศพ หรืองานวัฒนธรรมต่าง ๆ

                  ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นช่องทางสำาคัญที่ถือว่าดีและเหมาะสมมากที่สุดในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมือง
                  ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติทั้งสิ้น เพราะกิจกรรมต่าง ๆ ที่เรียกกันในภาษาชาวบ้านว่า “งาน” เหล่านี้

                  เป็นเสมือนศูนย์กลางของความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนทั้งภายในชุมชนเดียวกันและคนต่างพื้นที่ มีลักษณะ
                  ทั้งเป็นช่วงเวลาสำาคัญในการรวมญาติสนทิ มิตรสหายที่ต่างแยกย้ายไปตามประกอบอาชีพ การย้ายถิ่นฐาน

                  ไปตั้งรกรากบ้านเรือนในพื้นที่ของอำาเภออื่น รวมถึงจังหวัดอื่น ๆ กิจกรรมดังกล่าวจึงเป็นโอกาสและเวลาที่ดีที่สุด
                  ในการเปิดตัวหรือบอกกล่าวให้ประชาชนทราบว่าตนเองลงสมัครหรือมีเป้าหมายจะลงสมัครรับเลือกตั้ง รวมถึง

                  หากยังไม่ประสงค์ลงสมัครรับเลือกตั้งในครั้งดังกล่าวก็ใช้พื้นที่เพื่อแสดงตัวขออาสารับใช้ประชาชนในโอกาสต่อไป
                  (ผู้สมัคร ส.ส. เขตเลือกตั้งที่ 5 และผู้ใหญ่บ้านแห่งหนึ่ง เขตเลือกตั้งที่ 5, สัมภาษณ์ 2562)


                          จากสองประเด็นดังกล่าวแม้ว่าโดยเป้าหมายของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กลาง) ต้องการให้

                  กระบวนการเลือกตั้งดำาเนินไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม หากแต่ในข้อเท็จจริงของการเลือกตั้งย่อมไม่อาจปฏิเสธ
                  ได้ว่า การเลือกตั้งนั้นเป็นการแข่งขันเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบเสียเปรียบไปสู่เป้าหมายชนะการเลือกตั้ง ผลก็

                  คือ ผู้สมัคร ส.ส. ย่อมต้องหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อนำาไปสู่การได้รับการสนับสนุนจากรประชาชนในการตัดสินใจ
                  ลงคะแนนให้กับตน ด้วยเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ดังกล่าวจึงเป็นเสมือนเกมส์ระหว่างผู้เล่น 3 ฝ่าย กล่าวคือ

                  (1) ผู้สมัคร ส.ส. (2) คู่แข่ง หรือผู้สมัคร ส.ส.ในพื้นที่เลือกตั้งเดียวกัน และ (3) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)


                          หากอธิบายภายใต้แนวคิดดังกล่าว ผู้สมัคร ส.ส. แต่ละคนจะมีทั้งคู่แข่งขันและกรรมการทำาหน้าที่
                  ในการติดตาม ตรวจสอบว่าตัวผู้สมัคร ส.ส. ทำาตามกติกาแข่งขันหรือไม่อย่างไร ซึ่งในทางปฏิบัติ ด้วยพื้นที่
                  การเลือกตั้งประกอบด้วยชุมชนหมู่บ้านจำานวนมาก มิได้เป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่เชื่อมติดต่อกันเสมอไป

                  การควบคุมโดย กกต. เพียงลำาพังจึงเป็นเรื่องค่อนข้างยุ่งยาก สิ่งที่ กกต.ประจำาจังหวัดนำามาใช้ประกอบด้วย


                          ประการแรก การดำาเนินการจัดประชุมเพื่อทำาความเข้าใจในเงื่อนไข กฎเกณฑ์ กติกาและระเบียบ

                  ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการหาเสียงเลือกตั้ง

                          ประการที่สอง การควบคุมและกำากับภายใต้การรายงานข้อมูลการใช้งบประมาณหรือเงิน

                  ในการหาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส. ซึ่งเป็นการรายงานด้วยการจัดทำาข้อมูลที่ประกอบด้วย
                  รายละเอียดต่าง ๆ ตามแบบเอกสารหรือแบบฟอร์มที่กำาหนด


                          ประการที่สาม การควบคุมตรวจสอบโดยผู้สมัคร ส.ส. คู่แข่ง
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86