Page 80 - kpiebook63008
P. 80

80       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี







                      ความได้เปรียบในการชูนโยบายนั้นอยู่กับ “พรรคขนาดใหญ่” โดยเฉพาะพรรคที่มีความแนบแน่นใกล้ชิด

             กับรัฐบาลโดยเปิดเผยผ่านการนำาเสนอรายชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีให้กับ กกต. ในขณะที่พรรคคู่แข่งสำาคัญ
             ทั้งจากผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทยนั้น เลือกใช้แนวทางและวิธีการหาเสียงโดยเน้น

             ความแตกต่างด้านนโยบายออกไป เช่นเดียวกับพรรคการเมืองขนาดกลางและเล็ก ซึ่งพรรคกลุ่มหลังนี้มุ่งเน้น
             การเป็นพรรคร่วมรัฐบาล โดยยืนยันว่าจะมุ่งขับเคลื่อนและพลักดันนโยบายของพรรคตนเองให้ได้รับความสำาคัญ

             และนำาไปสู่การดำาเนินการให้ได้ (ผู้สมัคร ส.ส. พรรคการเมืองหนึ่ง, สัมภาษณ์ 2562)


                      ประเด็นเกี่ยวกับการซื้อเสียงนั้น ในช่วงระหว่างการหาเสียงนั้นในภาพรวมแล้วปรากฏว่ายังไม่มีชัดเจน
             มากนักว่ามีการจ่ายเงินให้กับหัวคะแนนเพื่อซื้อเสียง แต่เป็นเพียงข่าวในมีลักษณะเป็นการกล่าวถึงหรือพูดคุยถึง

             วิธีการและตัวเลขการจ่ายเงินเพื่อให้ประชาชนผู้มีสิทธิลงคะแนนสนับสนุน โดยมีผู้นำาชาวบ้านที่มีบทบาทสำาคัญ
             เป็นตัวกลางในการกำากับดูแลการพูดคุยและพบปะชาวบ้านในชุมชนหมู่บ้านของตนเอง เพื่อขอให้สนับสนุน

             ด้วยการลงคะแนนให้กับผู้สมัคร ส.ส. ที่ตนเองให้กับการสนับสนุน

                      อย่างไรก็ตาม ในการซื้อเสียงนั้นเป็นคำาพูดที่เรียกได้ว่าเป็นรับรู้รับทราบกันดีว่ามีการใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อเสียง

             หากแต่ประเด็นข้อเท็จจริงนั้นเป็นเรื่องยากที่จะหาหลักฐานเพื่อยืนยันถึงความมีอยู่จริง “การซื้อเสียง”

             จึงมักกลายเป็นเรื่องโจษขานถึงความสำาเร็จในทางการเมืองของนักเลือกตั้ง ซึ่งบรรดาชาวบ้านและผู้นำาหมู่บ้าน
             ผู้นำาท้องถิ่น และคนทั่วไปกล่าวถึง นอกจากนี้ ด้วยการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2560 เกิดขึ้นภายใต้รัฐธรมนูญ
             ปี 2560 ซึ่งได้กำาหนดรูปแบบและวิธีการให้ได้มาด้วย ส.ส. ที่แตกต่างจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา เป็นผลทำาให้

             ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีจำานวนพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัคร ส.ส. มากขึ้น เพราะคะแนนเสียงมีผลต่อการนำามาคำานวณ

             สัดส่วน ส.ส. ของแต่ละพรรคการเมืองด้วย ผลก็คือ การใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อเสียงของนักการเมืองหรือผู้สมัคร ส.ส.
             จึงทำาได้ยากขึ้น เพราะหากจะจ่ายเงินซื้อเสียงก็ต้องใช้จำานวนที่มากกว่าเดิม และต้องมีวิธีการคิดคำานวณจำานวน
             เงินที่ต้องใช้และคะแนนเสียงที่ต้องการ (ผู้สมัคร ส.ส. พรรคการเมืองหนึ่ง, สัมภาษณ์ 2562)







             กำรใช้เงินในกำรหำเสียงเลือกตั้ง


                      เป็นการศึกษาในประเด็นผลการบังคับใช้มาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งตามกฎหมายว่าด้วย

             การเลือกตั้งฉบับปัจจุบัน การเปรียบเทียบเจตนารมย์ของกฎหมายและผลที่เกิดขึ้นในระดับพื้นที่ บทบาทและวิธี
             การปฏิบัติงานของผู้จัดการเลือกตั้งต่อวิธีการควบคุมและตรวจสอบค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของพรคการเมือง และ

             นักการเมืองในพื้นที่ พฤติกรรมของผู้สมัคร รวมถึงพรรคการเมืองต่อปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติตามกฎหมาย
             และความพยายามในการหลบหรือเลี่ยงกฎหมาย


                      ในประเด็นว่าด้วยการบังคับใช้มาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง

             ฉบับปัจจุบันนั้น พบว่านักการเมืองในฐานะผู้สมัคร ส.ส. นั้นล้วนทราบดีว่าผลที่จะเกิดจากข้อกำาหนดของสำานักงาน
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85