Page 75 - kpiebook63008
P. 75
75
ของศาลรัฐธรรมนูญอีกด้วย กล่าวคือ ชาวบ้านส่วนหนึ่งมีข้อสงสัยในประเด็นผลของการพิจารณาของศาล
ว่ามีความเป็นธรรมทั้งต่อพรรคไทยรักษาชาติ และผู้สมัครฯ รวมถึงพรรคเพื่อไทยหรือไม่อย่างไร โดยที่ประชาชน
ในพื้นที่ส่วนหนึ่งเห็นว่ามีเป้าหมายทางการเมือง โดยเฉพาะการมีจำานวน ส.ส. ที่มากพอสำาหรับที่จะสนับสนุน
พรรคเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง (นายเอ นามสมมติ และนายสมบูรณ์ นามสมมติ, สัมภาษณ์ 2562)
หากพิจารณาในประเด็นผลกระทบต่อการพัฒนาประชาธิปไตย อาจพิจารณาได้ใน 2 แนวทางดังนี้ คือ
ประเด็นที่หนึ่ง ด้านบวก ในด้านนี้เป็นการมองถึงมิติการตื่นตัวทางการเมือง อันได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ
ต่อการมีสิทธิทางการเมืองภายใต้ “อำานาจของประชาชน” นั่นคือประชาชนมีความเข้าใจในอำานาจทางการเมือง
ของตนเองสำาหรับใช้ตัดสินใจเลือกนักการเมืองและพรรคการเมืองที่ตนเองสนับสนุนหรือลงคะแนนให้
โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่
(1) ผลงานในอดีตที่ทำาในพื้นที่
(2) ประสบการณ์และความสำาเร็จในอาชีพรวมถึงภูมิหลังส่วนบุคคล
(3) นโยบายของพรรคการเมืองของผู้สมัครฯ
(4) ผลงานของพรรคการเมืองในการนำานโยบายไปสู่การปฏิบัติหรือที่ได้นำาเสนอนโยบายให้ประชาชน
เลือก
(5) การเรียนรู้หลักการประชาธิปไตยภายใต้ความเห็นต่างหรือความขัดแย้งทั้งในด้านค่านิยม
ความเชื่อและทัศนคติ รวมถึงอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน ด้วยการเคารพเสียงข้างมาก
หรือการตัดสินใจของคนส่วนใหญ่ว่าจะสนับสนุนนักการเมืองและพรรคการเมืองใด และ
(6) การตรวจสอบนักการเมืองและพรรคการเมืองที่ต้องมีเหมาะสมกับการเป็นนักการเมืองยุคใหม่
ในพื้นที่เลือกตั้ง ประเด็นที่กล่าวมาข้างต้นถือเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการลงคะแนน
ของประชาชนที่จะเลือกหรือไม่เลือกผู้สมัคร ส.ส. หรือพรรคการเมือง การเรียนรู้ทางการเมืองภายใต้หลักการ
ประชาธิปไตยดังกล่าวแม้ว่าจะมีปัญหาบ้าง แต่ก็เป็นปัญหาในระดับเล็กหรือเฉพาะบุคคลหรือบางพื้นที่เท่านั้น
กล่าวคือ คนในหมู่บ้านหรือชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและค่านิยม รวมถึงความเชื่อทางการเมืองจากอดีต
ค่อนข้างมาก โดยที่ผู้สมัคร ส.ส. นั้นมิได้เป็นตัวเลือกหลักที่จะตัดสินใจเลือกหรือไม่เลือก/ลงคะแนน หากแต่มี
การนำาปัจจัยอื่น ๆ มาประกอบการพิจารณาในการลงคะแนนด้วย ปัจจัยดังกล่าวที่สำาคัญคือ “พรรคการเมือง”
รองลงมาคือ ผลงานของพรรคการเมือง นโยบายของพรรค ในขณะที่ปัจจัยส่วนบุคคล ตามลำาดับ
ประเด็นที่สอง ด้านลบ สำาหรับด้านนี้ผลจากกฎเกณฑ์และกติกาการเลือกตั้ง ที่มีรายละเอียดที่มาก
และอาจกล่าวได้ว่าซับซ้อนมากกว่าการเลือกตั้งในอดีต ทำาให้นักการเมืองและพรรคการเมืองไม่กล้าที่จะดำาเนิน
กิจกรรมทางการเมือง ทั้งการติดป้ายโฆษณาหาเสียง การทำากิจกรรมร่วมงานกับชาวบ้าน งานประเพณี งานบุญ
ของชาวบ้านโดยตรง และการประชุมของชาวบ้านในโอกาสและเวลาต่าง ๆ ที่มีอยู่เป็นประจำานั้นผู้สมัคร ส.ส.
ไม่กล้าที่จะเข้าร่วม กรณีดังกล่าวข้างต้นทำาให้เกิดช่องว่างในการรับรู้ถึงนโยบายและแนวทางการทำางานของ