Page 74 - kpiebook63008
P. 74

74       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี







             กับผู้สมัครของแต่ละพรรคว่า จากจำานวนคะแนนที่ประชาชนสนับสนุนทั้งประเทศนั้น เมื่อคิดสัดส่วนของ ส.ส.

             ทั้งสองระบบแล้ว แต่ละพรรคการเมืองจะมีจำานวน ส.ส. ทั้งระบบเขตเลือกตั้ง และระบบสัดส่วนจำานวนกี่คน
             หากเมื่อคำานวณแล้วปรากฏว่า จำานวน ส.ส. ที่พึงมี/ได้ นั้น พรรคการเมืองดังกล่าวได้ ส.ส. ในระบบเขต

             เลือกตั้งแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะได้รับการจัดสรร ส.ส. ระบบสัดส่วนเพิ่มได้อีกต่อไป


                      เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ดังกล่าว เป็นทราบกันดีว่าพรรคเพื่อไทย (พ.ท.) นั้นได้ดำาเนินการแบ่งแยกหรือ
             แตกตัวของสมาชิกพรรคไปสู่การจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ หรือที่ทราบกันดีในนาม “พรรคไทยรักษาชาติ”

             (ทษช.) ซึ่งพรรคดังกล่าวนี้ใช้วิธีการผสมผสานทั้งแนวคิดด้านนโยบายและยุทธศาสตร์การหาเสียง ด้วยการผสม
             ผสานระหว่างคนรุ่นใหม่และกลุ่มนักการเมืองที่มีประสบการณ์ทางการเมืองในระดับสูงและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก

             ของคนทั่วไป กล่าวคือ ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช ดำารงตำาแหน่งหัวหน้าพรรค ขณะที่คณะกรรมการบริหารพรรค
             ส่วนใหญ่เป็นนักการเมืองรุ่นใหม่ที่เป็นทายาททางการเมืองของนักการเมืองที่มีบทบาทสำาคัญในพรรคเพื่อไทย

             (พ.ท.) ทั้งกลุ่มตระกูลชินวัตร ตระกูล ณ ระนอง ตระกูลพงษ์พานิช ในขณะที่กลุ่มนักการเมืองที่มีประสบการณ์
             สูงและโดดเด่นเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปนั้น อาทิ นายจาตุรนต์ ฉายแสง นายพิชัย นริพพันธุ์ นายสุธรรม แสงปทุม

             นายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ  นายแพทย์เหวง โตจิราการ เป็นต้น (มติชนออนไลน์, ไทยรัฐออนไลน์, และประชาไทย, 2562)


                      นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยพรรคพันธมิตรที่เรียกกลุ่มตนเองว่า “ฝั่งประชาธิปไตย” เป็นแนวร่วม
             สำาคัญ ประกอบด้วย พรรคเพื่อชาติ พรรคเพื่อธรรม พรรคอนาคตใหม่ พรรคเสรีรวมไทย รวมถึงพรรคประชาชาติ
             และพรรคเกียน ที่มีแนวทางการเมืองใกล้เคียงกันภายใต้เป้าหมายในการต่อสู้และแข่งขันกับพรรคการเมือง

             ที่สนับสนุนแนวร่วมของพรรคที่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.


                      ภายใต้สถานการณ์การแข่งขันทางการเมืองดังกล่าว ได้นำามาสู่ประเด็นทางการเมืองอันเนื่องมาจากการ

             เสนอชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคไทยรักษาชาติ จนนำามาสู่กรณีที่สำานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
             (กกต.) มีคำาสั่งให้ยุบพรรคฯ ในวันที่ 8 มีนาคม 2562 และหัวหน้าพรรคพร้อมกรรมการบริหารพรรคฯ ต้องถูก
             ตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 10 ปี ผลของการยุบพรรคทำาให้สถานการณ์ในการเลือกตั้งของจังหวัดกาญจนบุรี

             เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก จากการแข่งขันของพรรคการเมืองขนาดใหญ่สำาคัญ 4 พรรค ประกอบด้วย

             พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พรรคภูมิใจไทย (ภท.) และพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.)
             โดยที่พรรคเพื่อไทย (พ.ท.) มิได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่อย่างใด ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์การเลือกตั้งที่ได้มีการวางแผน
             และกำาหนดทิศทางหลังการเลือกตั้งไว้แล้ว


                      ผลของการยุบพรรคไทยรักษาชาติทำาให้สมการทางการเมืองในการเลือกตั้งจังหวัดกาญจนบุรีเปลี่ยนแปลง

             กล่าวคือ ประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะ “กลุ่มที่ตัดสินใจสนับสนุนพรรคไทยรักษาชาติ”” มีความสับสนในสิ่งที่เกิดขึ้น
             และก่อให้เกิดความมั่นใจในสิ่งที่จะต้องตัดสินใจว่าจะเลือกผู้สมัครหรือสนับสนุนพรรคการเมืองใดแทน

             พรรคไทยรักษาชาติ ประเด็นที่สำาคัญคือ ประชาชนที่สนับสนุนผู้สมัครของพรรคไทยรักษาชาตินั้นส่วนใหญ่
             อยู่ในกลุ่มที่สนับสนุนหรือเป็นฐานเสียงของพรรคเพื่อไทย เมื่อเกิดกรณีการยุบพรรคฯ ดังกล่าว ทำาให้การตัดสินใจ

             ในการที่จะลงคะแนนเลือกผู้สมัครฯ จากพรรคใดนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าเกี่ยวข้องกับสิ่งที่พรรคและผู้สมัครของ
             พรรคไทยรักษาชาติให้ความเห็นหรือแนะนำา นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับปัจจัยทัศนคติทางการเมืองที่มีต่อคำาตัดสิน
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79