Page 72 - kpiebook63008
P. 72
72 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี
ในพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 5 ประกอบด้วย อ.ทองผาภูมิ อ.สังขละบุรี และ อ.ไทรโยค นับเป็นพื้นที่มีลักษณะ
ทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างจากพื้นที่เขตเลือกตั้งอื่น ๆ พอสมควร สภาพโดยรวมเป็นพื้นที่ที่อยู่ห่างจากตัวจังหวัด
ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการปกครองค่อนข้างมาก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภูเขาสลับซับซ้อน มีป่าไม้
นำ้าตก แหล่งกักเก็บนำ้าและเขื่อน การเดินทางไป-กลับระหว่างตัวเมืองหรือจังหวัดกับอำาเภอเหล่านี้ต้องใช้เวลา
ค่อนข้างมากในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ในพื้นที่ยังประกอบด้วยไปกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีความหลากหลาย
ทางประเพณี วัฒนธรรม ภาษา วิถีชีวิต ซึ่งล้วนแล้วแต่มีเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์เฉพาะของตนเอง ลักษณะ
พื้นที่จึงประกอบด้วยพื้นที่ที่เป็นชุมชนใหญ่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของส่วนราชการที่มีหน้าที่ในการดูแลรักษาความสงบ
เรียบร้อย ความปลอดภัยและความมั่นคง ส่วนราชการด้านการส่งเสริมการประกอบอาชีพ เศรษฐกิจ วิถีชีวิต
ความเป็นอยู่ สาธารณสุข เป็นต้น ในขณะที่ชุมชนหมู่บ้านขนาดเล็ก อยู่ห่างไกลของออกไป และมีความยุ่งยาก
ในการเดินทางเข้าถึงในระดับหนึ่ง (นิพนธ์ โซะเฮง และคณะ, 2562)
ลักษณะภูมิศาสตร์ของพื้นที่ดังกล่าวในอดีตที่ผ่านมาจึงมีผลต่อค่านิยม ความคิด ความเชื่อ
และประสบการณ์ทางการเมืองของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมทางการเมือง การตัดสินใจ
ทางการเมืองในการเลือกตั้งทั้งการเมืองระดับชาติ หรือการตั้ง ส.ส. การเลือกตั้ง ส.ว. และรวมถึงการเลือกตั้ง
การเมืองท้องถิ่นเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ด้วยความรู้ความเข้าใจในมิติทางการเมืองว่าด้วยแนวคิด หลักการ
และความสำาคัญของประชาธิปไตยภายใต้การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ความเข้าใจในมิติอำานาจ
ของประชาชนในการตัดสินใจเลือกนักการเมือง ความเข้าใจในมิตินโยบายและพรรคการเมืองที่มีความสำาคัญ
ต่อความเจริญก้าวหน้า การเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาชุมชน เส้นทางคมนาคม การเข้าถึงกระบวนการ
ยุติธรรม สิ่งดังกล่าวทำาให้พฤติกรรมในการเลือก ส.ส. หรือนักการเมืองโดยทั่วไปในระดับต่าง ๆ ของประชาชน
ในพื้นที่เลือกตั้งเขต 5 เปลี่ยนแปลงและพัฒนาขึ้นจากในอดีตเป็นอย่างมาก
กำรเปรียบเทียบในประเด็นศึกษำว่ำด้วยกำรเลือกตั้ง ส.ส. จังหวัดกำญจนบุรี
มีนำคม 2562
ประการแรก ความเหมือนหรือความแตกต่างจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
กาญจนบุรีที่ผ่านมา และการเปลี่ยนแปลงในประเด็นที่สำาคัญที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้ง ผลกระทบที่มีความสำาคัญ
ในการพัฒนาประชาธิปไตย
ในด้านความเหมือนหรือความแตกต่างกับการเลือกตั้ง ส.ส. จังหวัดกาญจนบุรีกับครั้งที่ผ่านมานั้น
หากวิเคราะห์ในภาพรวมแล้วอาจมิได้มีความแตกต่างกันมากนัก กล่าวคือ ด้านการแข่งขันทางการเมือง
นั้น บทบาทของพรรคการเมืองและผู้สมัคร ส.ส. ส่วนใหญ่ยังคงเป็นกลุ่มคนกลุ่มที่เคยลงสมัครรับเลือกตั้ง
และคุ้นเคยในฐานะนักการเมืองท้องถิ่นหรือระดับชาติเท่านั้น แต่ก็มีบ้างที่เป็นกลุ่มคนใหม่ที่เข้าสู่สนามการเมือง
เพื่อเข้ามาแทนที่นักการเมืองรุ่นเก่าที่มีบทบาทสำาคัญในอดีต นอกจากนี้บทบาททางการเมืองของผู้สมัคร ส.ส.