Page 140 - kpiebook63006
P. 140
140 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา
ประเด็นสำาคัญประการหนึ่งของแนวคิด ทฤษฎีการตัดสินใจเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล ก็คือ
การตัดสินใจเลือกของประชาชน ซึ่งในที่นี้ก็คือผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งมาจากการได้รับข้อมูลข่าวสารในเรื่องที่จะ
ตัดสินใจอย่างเพียงพอ (รายละเอียดของแนวคิด ทฤษฎีนี้ได้อภิปรายแล้วในบทที่ 2 ) การเลือกตั้งครั้งนี้
เกิดขึ้นในยุคที่ข้อมูลข่าวสารมีการแพร่กระจายไปยังประชาชนกลุ่มต่างๆ พื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศอย่าง
แพร่หลายมากที่สุดเมื่อเทียบกับการเลือกตั้งครั้งก่อน โดยเฉพาะเป็นครั้งแรกที่มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์
เช่น เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ ยูทูป อินสตาร์แกรม ในการหาเสียงเลือกตั้งทั้งจากพรรคการเมืองและผู้สมัคร
ในเขตเลือกตั้ง และยิ่งไปกว่านั้นการสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันในหมู่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ยังเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางเป็นครั้งแรกในการเลือกตั้งครั้งนี้
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเห็นว่า การตัดสินใจเลือกนโยบายพรรคเป็นปัจจัยที่สำาคัญต่อผลการเลือกตั้ง
ในครั้งนี้ โดยเฉพาะในเขตที่พรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้ให้กับพรรคพลังประชารัฐ ผู้สมัครในหลายเขต
เลือกตั้งเป็นผู้สมัครหน้าใหม่ ไม่ได้มีชื่อเสียงเป็นที่ประจักษ์ชัด แม้บางเขตจะเคยเป็นนักการเมืองท้องถิ่น
ในระดับสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมาก่อนก็ตาม นโยบายของพรรคพลังประชารัฐที่ประชาชน
ชื่นชอบมากที่สุดก็คือ นโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งชื่อของนโยบายตรงกับ “โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ”
หรือที่รู้จักกันในหมู่ประชาชนโดยทั่วไปว่า “บัตรคนจน” ของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ พรรคพลังประชารัฐ
จึงมีความได้เปรียบเหนือพรรคการเมืองอื่นๆ ในแง่หนึ่งก็คือ การใช้ชื่อของนโยบายตรงกับชื่อของโครงการ
รัฐบาลที่กำาลังดำาเนินการอยู่ การตัดสินใจเลือกพรรคพลังประชารัฐของผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเฉพาะผู้ที่มีบัตร
สวัสดิการแห่งรัฐอยู่แล้วด้านหนึ่งเพราะหวั่นเกรงว่าหากพรรคพลังประชารัฐไม่ชนะเลือกตั้ง ไม่สามารถ
จัดตั้งรัฐบาลได้ โดยเฉพาะหากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปอีกหลังเลือกตั้ง
จะทำาให้รัฐบาลใหม่ยกเลิกโครงการนี้ (คณะทำางานพรรคพลังประชารัฐ เขต 1, สัมภาษณ์ 14 มีนาคม 2562)
ความนิยมของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำานวนไม่น้อยที่มีต่อบัตรคนจน สะท้อนให้เห็นจาก
ผู้สมัครและพรรคการเมืองต่างๆ ที่ไม่อภิปรายหาเสียงด้วยการโจมตีในเรื่องนี้ อีกทั้งยังชี้แจงกับประชาชน
อีกว่า หากพรรคได้เป็นรัฐบาลจะไม่มีการยกเลิกโครงการนี้ แต่อาจจะปรับเปลี่ยนให้ประชาชนได้รับ
ประโยชน์และความสะดวกมากขึ้นในการใช้บัตรนี้ เช่น อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวถึงเรื่องนี้กับผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งที่มาฟังปราศรัยใหญ่ของพรรคซึ่งจัดขึ้นในเขตเลือกตั้งที่ 1 ทั้งๆ ที่ผู้ฟังส่วนใหญ่มีความผูกพัน
กับพรรคประชาธิปัตย์อยู่แล้วว่า
“พรรคประชาธิปัตย์จะไม่ยกเลิกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แต่จะปรับปรุงแก้ไขให้ดี
ยิ่งขึ้นคือ จะจัดสรรให้ถึงคนจนจริงๆ หากมีบัตรแต่ไม่จนจริงจะเอาบัตรคืน พรรคจะใช้
หลักการสวัสดิการเช่น เน้นความยั่งยืน ชัดเจนในแง่ของสิทธิต่างๆ ค�านึงถึงความเท่าเทียม
นอกจากนั้นยังต้องกระจายรายได้ให้กับผู้ค้าขายอย่างทั่วถึง ไม่กระจุกอยู่เฉพาะบริษัท
ห้างร้านขนาดใหญ่ แต่จะให้ไปถึงตลาดสด พ่อค้าแม่ค้ารายย่อย และจะโอนเงินเข้าบัญชีเลย
จะเอาไปใช้ที่ใดก็ได้” (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, ปราศรัย 3 มีนาคม 2562)