Page 137 - kpiebook63006
P. 137
137
การที่ผู้สมัครและพรรคการเมืองต่างๆ ในอดีตไม่ต่อสู้แข่งขันอย่างจริงจังเพื่อเอาชนะพรรค
ประชาธิปัตย์พิจารณาได้จากหลายปัจจัย เช่น การเตรียมการของพรรคก่อนการเลือกตั้ง กระบวนการ
ของการสรรหาตัวผู้สมัคร คุณสมบัติและความมีชื่อเสียงของผู้สมัคร ความถี่และความหลากหลายใน
การหาเสียงไม่ว่าจะเป็นจากตัวผู้สมัคร หรือการสนับสนุนส่งเสริมจากพรรคการเมืองโดยเฉพาะหัวหน้า
พรรคและแกนนำาพรรคช่วยผู้สมัครลงพื้นที่และเปิดเวทีปราศรัยใหญ่ ปรากฏว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้
แตกต่างจากครั้งก่อนๆ เป็นอย่างมาก ในแต่ละเขตเลือกตั้งมีผู้สมัครและพรรคการเมืองไม่ตำ่ากว่า 3 พรรค
ที่แข่งขันกับพรรคประชาธิปัตย์อย่างจริงจัง
ท่ามกลางการวิพากษ์วิจารณ์ในด้านลบของระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม แต่ข้อดี
ก็คือ การมีผู้สมัครและพรรคการเมืองอาสามาเป็นตัวเลือกของประชาชนเป็นจำานวนมากกว่าในอดีต
อีกทั้งยังทำาให้พรรคการเมืองแนวทางเลือก พรรคการเมืองของคนเฉพาะกลุ่มกล้าที่จะส่งผู้สมัครลงรับ
เลือกตั้งเพราะหวังคะแนนในระบบบัญชีรายชื่อ เช่น พรรคครูไทย พรรคภาคีเครือข่ายไทย เป็นต้น แม้ว่า
พรรคการเมืองเหล่านี้ไม่ได้หวังเพียงคะแนนจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นกลุ่มคนเฉพาะกลุ่ม แต่หวังคะแนน
เสียงของประชาชนทุกหมู่เหล่าก็ตาม
ระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมที่นำามาสู่การมีผู้สมัครเป็นจำานวนมากสูงสุดเป็น
ประวัติการณ์นี้ นับว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อคะแนนของพรรคประชาธิปัตย์ในแต่ละเขตเลือกตั้ง
จนทำาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในพื้นที่จังหวัดสงขลา เพราะผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีทางเลือกในการ
ลงคะแนนให้กับผู้สมัครและพรรคการเมืองต่างๆ มากกว่าในอดีตมาก แม้กระทั่งผู้สมัครที่ไม่มีชื่อเสียงหรือ
โนเนมอย่างน้อยก็ได้คะแนนจากเครือญาติและกลุ่มเพื่อน ซึ่งในอดีตคะแนนเหล่านี้อาจเป็นคะแนนของ
พรรคประชาธิปัตย์หรือพรรคการเมืองอื่นๆ ซึ่งลงสมัครเพียงไม่กี่พรรคเท่านั้น
2. สภำวะเศรษฐกิจถดถอย
การเลือกตั้งครั้งนี้เกิดขึ้นในสภาวะที่เศรษฐกิจถดถอย ราคาของผลิตผลทางการเกษตรเช่น
ยางพารา ปาล์มนำ้ามันลดตำ่าลงเป็นอย่างมากสวนทางกับค่าครองชีพ ปัญหาเศรษฐกิจจึงเป็นประเด็นหนึ่ง
ที่ถูกนำามาใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งในครั้งนี้ เนื่องจากเสียงสะท้อนของประชาชนในพื้นที่ที่เห็นว่า
การดำาเนินงานของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบ
แห่งชาติ (คสช.) ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ได้ ด้วยการเชื่อมโยงกับบทบาทของอดีตส.ส.
พรรคประชาธิปัตย์ว่าไม่ทำาหน้าที่เป็นตัวแทนเพื่อสะท้อนความเดือดร้อนของประชาชนที่มีต่อรัฐบาล
ในขณะที่ผู้สมัครจากพรรคการเมืองอื่นๆ บางพรรค ได้แสดงบทบาทนี้อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดก่อนหน้า
การเลือกตั้งนานหลายปี เช่น เขตเลือกตั้งที่ 7 ที่พรรคประชาธิปัตย์ โดยศิริโชค โสภา พ่ายแพ้การเลือกตั้ง
ให้กับณัฐฎ์ชนน ศรีก่อเกื้อ พรรคภูมิใจไทย เนื่องจากณัฐฎ์ชนน แสดงบทบาทเป็นผู้รวบรวมความเดือดร้อน
ของประชาชนในพื้นที่จากราคาตกตำ่าของยางพารา ปาล์มนำ้ามัน นำาเสนอแก่นายกรัฐมนตรีหรือ