Page 139 - kpiebook63006
P. 139

139








                          ความไม่เป็นเอกภาพภายในพรรคได้ส่งผลกระทบไปถึงเขตเลือกตั้ง เมื่อ 8 เขตของจังหวัดสงขลา

                  ถูกแบ่งครึ่งระหว่างกลุ่มที่มีนายถาวร เสนเนียม แกนนำากลุ่มกปปส. และเป็นผู้ให้การสนับสนุนคนสำาคัญต่อ
                  นพ.วรงค์ กับกลุ่มนิพนธ์ บุญญามณี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ซึ่งให้การสนับสนุนอภิสิทธิ์

                  ผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้มีผลทั้งต่อการจัดตัวผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งและการร่วมช่วยเหลือกันในการหาเสียง
                  เลือกตั้งโดยเฉพาะในการเปิดเวทีปราศรัยใหญ่


                          ปัญหาการจัดตัวผู้สมัครเกิดขึ้นในหลายเขตเลือกตั้งได้แก่ เขตเลือกตั้งที่ 1 ที่นิพนธ์ผลักดัน
                  บุตรชายให้ลงสมัครแทนที่อดีตส.ส. 4 สมัย ซึ่งต้องจำาใจไปลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อแทน เขตเลือกตั้งที่ 3

                  ที่กรรมการบริหารพรรคตัดสินใจส่งอดีตส.ส. ซึ่งอยู่ในกลุ่มถาวร เป็นผู้สมัครในวันสุดท้าย เขตเลือกตั้งที่ 5
                  ที่ถาวรสามารถผลักดันคนในกลุ่มลงสมัครจนสำาเร็จทำาให้บุตรชายของนิพนธ์ต้องย้ายไปลงสมัครที่เขต 1 แทน

                  จนก่อให้เกิดความขัดแย้งกับอดีตส.ส. 4 สมัยเจ้าของพื้นที่เดิม

                          ปัญหาการจัดตัวผู้สมัครของพรรคผสมผสานกับความรู้สึกของประชาชน ที่ต้องการความ

                  เปลี่ยนแปลงทางการเมืองทั้งพรรคการเมืองและตัวส.ส. ในจังหวัดสงขลา ซึ่งเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์
                  ครองความนิยมมาอย่างยาวนานกว่า 20 ปีแล้ว กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เกิดกระแส “เบื่อพรรคประชาธิปัตย์”

                  นับเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ส่งผลทำาให้ผลการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์สูญเสียที่นั่งจาก 8 ที่นั่งเหลือเพียง
                  3 ที่นั่ง โดยผู้สมัครที่ได้รับการเลือกตั้งนั้นมาจากคะแนนความนิยมส่วนตัว ไม่ใช่คะแนนนิยมที่มีต่อพรรค

                  ดังที่ได้อภิปรายและนำาเสนอแล้วในตารางที่ 5.1





                          4. นโยบำยพรรค


                          นับตั้งแต่การเลือกตั้งเมื่อปี 2544 เป็นต้นมา การเมืองไทยได้ก้าวเข้าสู่การแข่งขันทางด้าน

                  นโยบายอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ภาคใต้และจังหวัดสงขลา พรรคประชาธิปัตย์สามารถสร้าง
                  ความผูกพันของประชาชนที่มีต่อพรรคนับตั้งแต่การเลือกตั้งปี 2535/2 เป็นต้นมา จวบจนกระทั่งถึง

                  การเลือกตั้งในปี 2554 ชัยชนะของพรรคประชาธิปัตย์จึงมาจากความภักดีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีต่อพรรค
                  สมดั่งสโลแกนของพรรคในการหาเสียงมาโดยตลอดว่า “พรรคของเรา คนของเรา” (บูฆอรี ยีหมะ 2561)

                  ท่ามกลางความนิยมและชัยชนะของพรรคไทยรักไทยและพรรคอื่นๆ ที่สืบทอดต่อจากพรรคไทยรักไทย
                  หลังจากถูกยุบพรรค ซึ่งชนะเลือกตั้งในพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศ ชัยชนะของพรรคประชาธิปัตย์ในช่วงที่ผ่านมา

                  จึงสามารถอธิบายด้วยแนวคิด ทฤษฎีอัตลักษณ์ของพรรค ในขณะที่การเลือกตั้งเมื่อ 24 มีนาคม 2562
                  ทุกพรรคการเมืองต่างนำาเสนอนโยบายเพื่อจูงใจผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งไม่แตกต่างจากการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ

                  ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ทำาให้จังหวัดสงขลาเกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวส.ส.และพรรคย่อม
                  สะท้อนถึงการเลือกนโยบายพรรคไม่น้อย ในขณะที่ความผูกพันของประชาชนที่มีต่อพรรคประชาธิปัตย์

                  ลดน้อยลงมาก การอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในครั้งนี้ผ่านแนวคิด ทฤษฎีการตัดสินใจเลือก
                  อย่างมีเหตุมีผลจึงมีความเหมาะสมในการทำาความเข้าใจการเลือกตั้งในครั้งนี้
   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144