Page 136 - kpiebook63006
P. 136
136 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา
กำรเลือกตั้งปี 2554 กำรเลือกตั้งปี 2562
เขต
ชื่อผู้สมัคร พรรค คะแนน ชื่อผู้สมัคร พรรค คะแนน
ศิริโชค โสภา ประชาธิปัตย์ 60,100 ณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ ภูมิใจไทย 31,286
7 อัศวิน สุวิทย์ เพื่อไทย 10,249 ศิริโชค โสภา ประชาธิปัตย์ 25,140
คำานูญ สวัสดี ชาติพัฒนา 442 เทียน ตันติวิริยภาพ พลังประชารัฐ 12,797
เพื่อแผ่นดิน
พล.ต.ต.สุรินทร์ ประชาธิปัตย์ 70,944 พล.ต.ต.สุรินทร์ ประชาธิปัตย์ 52,420
8 ปาลาเร่ ปาลาเร่
กอลยูบี จะเรเสะ เพื่อไทย 10,610 วสันต์ ชั่งหมาน พลังประชารัฐ 15,087
สุรชาติ ดวงแก้ว ชาติพัฒนา 1,593 อภิสิทธิ์ อนาคตใหม่ 9,966
เพื่อแผ่นดิน เพ็ชรประพันธ์
งานวิจัยนี้จึงเห็นว่า แนวคิดที่ควรนำามาใช้ในการอธิบายผลการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562
คือ แนวคิด ทฤษฎีการตัดสินใจเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล (rational choice theory) เนื่องจากเมื่อพิจารณา
ถึงบริบททางสังคมในปัจจุบันที่ข้อมูลข่าวสารได้แพร่กระจายไปยังประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งอย่างทั่วถึง
ไม่เพียงแต่สื่อกระแสหลัก แต่ยังมีสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือโทรศัพท์มือถือ
ซึ่งสามารถรับชมข้อมูลได้ตลอดเวลา ดังที่ผู้วิจัยได้อภิปรายมาแล้วถึงทฤษฎีนี้ในบทที่ 2 ว่า ปัจจัยหนึ่งที่
จะทำาให้เกิดการตัดสินใจเลือกอย่างมีเหตุมีผลได้ก็คือ การมีข้อมูลที่มากเพียงพอสำาหรับการตัดสินใจเลือก
ผลการเลือกตั้งในครั้งนี้ สอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎีการตัดสินใจเลือกอย่างมีเหตุมีผล
เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดต่างๆ โดยภาพรวมของการเลือกตั้งทั้ง 8 เขตของจังหวัดสงขลาดังนี้
1. ระบบกำรเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมกับกำรตัดสินใจเลือกผู้สมัคร
และพรรค
ระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมที่ใช้บัตรเลือกตั้งเพียงใบเดียวในเขตเลือกตั้ง เพื่อเลือก
ผู้สมัครในระบบเขตแล้วนำาคะแนนไปคำานวณหาผู้ชนะเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อด้วย ทำาให้มีผู้สมัคร
เป็นจำานวนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในทุกเขตเลือกตั้งนับตั้งแต่มีการเลือกตั้งมา นอกจากนั้น ในบรรดา
ผู้สมัครจากพรรคต่างๆ มีหลายคนจากหลายพรรคที่แข่งขันกันอย่างจริงจังเพื่อให้ได้ชัยชนะในการเลือกตั้ง
ครั้งนี้ แตกต่างจากการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ ที่ยังคงเห็นว่าไม่สามารถเอาชนะพรรคประชาธิปัตย์ได้จนเกิด
ประโยคที่พูดกันไปทั่วว่า “พรรคประชาธิปัตย์ส่งเสาไฟฟ้าก็ชนะ” การเลือกตั้งครั้งก่อนๆ เช่น ปี 2554
จึงมีผู้สมัครในแต่ละเขตเลือกตั้งโดยเฉลี่ยเขตละ 3 คนเท่านั้น