Page 134 - kpiebook63006
P. 134
134 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา
การอภิปรายผลการวิจัย
กำรอธิบำยผลกำรเลือกตั้งด้วยแนวคิด ทฤษฎีกำรตัดสินใจเลือกอย่ำงเป็นเหตุ
เป็นผล
ผลการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 นับว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ในพื้นที่จังหวัด
สงขลา เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ที่ครองความนิยมมาโดยตลอดทั่วทุกเขตทั้งจังหวัดนับตั้งแต่การเลือกตั้ง
2535/2 เป็นต้นมา กลับพ่ายแพ้อย่างยับเยินเมื่อได้รับการเลือกตั้งเพียง 3 เขต จาก 8 เขต สาเหตุ
ของความพ่ายแพ้ของพรรคประชาธิปัตย์ในครั้งนี้สัมพันธ์กับบริบททางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม
ที่เปลี่ยนแปลงไปตามที่ได้นำาเสนอในบทที่ 4
ในอดีต แนวคิดอัตลักษณ์ของพรรคการเมือง หรือความผูกพันที่ประชาชนมีต่อพรรคการเมือง
(party identification) เป็นแนวคิดที่นำามาใช้ในการอธิบายถึงความนิยมของประชาชนในพื้นที่จังหวัดสงขลา
ที่มีต่อพรรคประชาธิปัตย์ทำาให้ชนะเลือกตั้งมาโดยตลอดนับตั้งแต่การเลือกตั้งปี 2535/2 ผ่านกระบวนการ
กล่อมเกลาทางการเมืองที่พรรคใช้ เช่น ใช้ประเด็นความเป็นพวกพ้องเดียวกันผ่านคำาขวัญหรือสโลแกน
“พรรคของเรา คนของเรา” ซึ่งหมายถึงพรรคเป็นของประชาชนคนในพื้นที่ ประชนชนเป็นเจ้าของพรรค
ร่วมกันและพรรคได้คัดสรรตัวผู้สมัครเพื่อเป็นตัวแทนของประชาชนในพื้นที่ซึ่งอยู่ในสถานะเปรียบเสมือน
พวกพ้องเดียวกัน ไม่ใช่คนอื่นไกลแต่อย่างใด ความผูกพันธุ์ของประชาชนต่อพรรคประชาธิปัตย์ยังมาจาก
การมีหัวหน้าพรรคเป็นคนภาคใต้คือ ชวน หลีกภัย นับตั้งแต่ปี 2534 จนกระทั่งได้ดำารงตำาแหน่ง
นายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง 13 กันยายน 2535 ยิ่งตอกยำ้าความเป็น “พรรคของเรา คนของเรา”
แม้กระทั่งเมื่อชวน หลีกภัย พ้นจากตำาแหน่งหัวหน้าพรรคแล้ว การเลือกตั้งในแต่ละครั้งโปสเตอร์หาเสียง
ยังต้องมีภาพของชวน ถ่ายประกบคู่กับผู้สมัครมาโดยตลอด นอกจากนั้น กรรมการบริหารของพรรคประชาธิปัตย์
จำานวนมากยังเป็นส.ส. ในพื้นที่ภาคใต้ เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ได้ร่วมจัดตั้งรัฐบาล กรรมการบริหารพรรค
ที่เป็นคนภาคใต้เหล่านั้นก็ได้รับตำาแหน่งรัฐมนตรีด้วย ยิ่งทำาให้เกิดการตอกยำ้าความเป็นพรรคของคนภาคใต้
และสงขลา ความผูกพันของประชาชนที่มีต่อพรรคประชาธิปัตย์ก็ยิ่งแนบแน่นมากขึ้น (บูฆอรี ยีหมะ 2561)
อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งในครั้งนี้ย่อมไม่สามารถนำาแนวคิดอัตลักษณ์ของพรรคการเมือง
มาใช้อธิบายได้ เพราะเมื่อพิจารณาในรายละเอียดถึงผลคะแนนที่ปรากฏออกมาในแต่ละเขตเลือกตั้ง
คะแนนที่ประชาชนเคยนิยมในตัวพรรคประชาธิปัตย์ลดลงเป็นอย่างมาก เหลือเพียงคะแนนที่นิยมเฉพาะ
ตัวผู้สมัครเท่านั้นเมื่อนำามาเปรียบเทียบกับคะแนนในการเลือกตั้งปี 2554 ดังปรากฏตามตารางที่ 5.1