Page 130 - kpiebook63006
P. 130
130 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา
สร้างความไม่พอใจแก่เจือและถาวร จนมีการเปิดแถลงข่าววิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่โปร่งใสของกระบวนการ
หยั่งเสียง (primary vote) ว่า นิพนธ์รวบรัดกระบวนการทำาเพื่อให้บุตรชายของตนเองชนะเพื่อเป็น
ตัวแทนพรรค นับว่าขาดความชอบธรรม
อีกกรณีตัวอย่างคือ เขตเลือกตั้งที่ 3 มีปัญหาในลักษณะเดียวกันกับเขตเลือกตั้งที่ 1 เมื่อ
วิรัตน์ กัลยาศิริ อดีตส.ส. 4 สมัยและเป็นนักการเมืองที่สังกัดกลุ่มถาวร มติพรรคครั้งแรกไม่ส่งลงสมัคร
โดยให้เหตุผลว่าวิรัตน์ มีปัญหาด้านสุขภาพ โดยให้ไพร พัฒโน อดีตส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ 2 สมัย
ปี 2539 และ 2544 ซึ่งอำาลาการเมืองระดับชาติเข้าสู่การเมืองท้องถิ่นชนะเลือกตั้งได้ดำารงตำาแหน่ง
นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่นับตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา เป็นผู้สมัครแทน โดยให้วิรัตน์ลงสมัคร
ในระบบบัญชีรายชื่อเช่นเดียวกับกรณีที่เกิดกับเจือ สร้างความไม่พอใจต่อวิรัตน์และคณะทำางานจนต้อง
ยื่นอุทธรณ์ต่อกรรมการสรรหาของพรรคอีกครั้ง ในขณะที่ไพร ประกาศลาออกจากตำาแหน่งนายกเทศมนตรี
นครหาดใหญ่แล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ทำาให้เขตเลือกตั้งที่ 3 เป็นเขตเดียวที่พรรคประชาธิปัตย์ยังไม่ส่ง
ตัวแทนไปยื่นใบสมัครกับกกต. จังหวัด ซึ่งเปิดรับสมัครทั่วประเทศเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562 เป็นวันแรก
ในที่สุดพรรคก็มีมติส่งวิรัตน์ลงสมัครโดยได้เดินทางไปยื่นใบสมัครในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งเป็น
วันสุดท้ายของการรับสมัคร
3. ทัศนคติของประชาชนที่มีต่ออดีตส.ส.
การบริหารงานของรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร ซึ่งบรรยากาศทางการเมืองมีการควบคุม
การดำาเนินกิจกรรมทางการเมืองของประชาชนและพรรคการเมือง ทำาให้บรรดาอดีตส.ส. ในจังหวัดสงขลา
ซึ่งทั้งหมดสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ก็แทบจะไม่ได้แสดงบทบาทในการเคลื่อนไหวเพื่อนำาเสนอปัญหาและ
ความต้องการของประชาชนในพื้นที่เช่น ปัญหาการตกตำ่าของราคายางพารา ปาล์มนำ้ามัน แม้ในช่วง
ที่มีแนวโน้มค่อนข้างชัดเจนแล้วว่ารัฐบาลกำาลังจะจัดให้มีการเลือกตั้งในเวลาอีกไม่นาน อดีตส.ส.ของ
พรรคประชาธิปัตย์ก็ยังคงไม่เคลื่อนไหวในเรื่องนี้ ในขณะที่ว่าที่ผู้สมัครจากพรรคการเมืองอื่นๆ ได้แสดง
บทบาทด้วยการนำาเสนอถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ต่อรัฐบาลเป็นระยะ ความรู้สึก
ในเชิงลบของประชาชนต่ออดีตสส. ถูกนำาเสนอผ่านสื่อมวลชนต่างๆ ซึ่งสรุปได้ว่า การเลือกตั้งครั้งนี้
ต้องการการเปลี่ยนแปลงจากที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์จะหันไปเลือกผู้สมัครและพรรคการเมืองใหม่แทน
4. นโยบายพรรค
การเลือกตั้งครั้งก่อนๆ ในพื้นที่ภาคใต้และสงขลา นโยบายพรรคไม่ได้เป็นปัจจัยสำาคัญในการ
ตัดสินใจเลือก แต่ปัจจัยสำาคัญอยู่ที่อัตลักษณ์ต่อพรรคการเมือง (party Identification) ที่นำามาสู่ความผูกพัน