Page 129 - kpiebook63006
P. 129
129
และรวดเร็วอันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารที่คนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์
การสื่อสารต่างๆ ทั้งโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ผู้สมัครและพรรคการเมืองที่สามารถใช้เครื่องมือสื่อสาร
ในสื่อสังคมออนไลน์นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมสร้างความได้เปรียบในแง่ของการได้คะแนนนิยมก่อน
การเลือกตั้งเป็นอย่างสูง เมื่อเทียบกับผู้สมัครและพรรคการเมืองที่ยังคงไม่ให้ความสำาคัญกับสื่อประเภทนี้
ยังคงใช้การสื่อสารในรูปแบบเดิมๆ เป็นหลัก เช่น การจัดเวทีปราศรัย การใช้รถแห่ไปยังพื้นที่ การแจก
บัตรแนะนำาตัว เป็นต้น
2. ปัจจัยภายในพรรคประชาธิปัตย์
พรรคประชาธิปัตย์ครองความนิยมในพื้นที่ภาคใต้และจังหวัดสงขลามาอย่างยาวนานนับตั้งแต่
การเลือกตั้งเดือนกันยายน 2535 เป็นต้นมา แต่ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดนี้ปัจจัยภายในของพรรคส่งผล
ต่อความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งจนในที่สุดทำาให้พรรคพ่ายแพ้การเลือกตั้ง
ซึ่งมีทั้งปัจจัยระดับชาติและปัจจัยระดับพื้นที่ดังนี้
2.1 ปัจจัยระดับชำติ
ปัจจัยนี้คือปัญหาความเป็นเอกภาพภายในพรรคหลังจากมีการแข่งขันลงเลือกตั้งชิงตำาแหน่ง
หัวหน้าพรรคระหว่างอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรค ซึ่งเพิ่งหมดวาระ กับนพ. วรงค์ เดชกิจวิกรม
ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกพรรคที่เป็นสมาชิกและเคลื่อนไหวร่วมกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ
ในนามคณะกรรมการประชาชน เพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมี
พระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) ในที่สุดอภิสิทธิ์ชนะเลือกตั้งได้ดำารงตำาแหน่งหัวหน้าพรรคต่อไป
ทั้งนี้ผู้สมัครทั้งสองและผู้ให้การสนับสนุนมีแนวทางการเมืองที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะเมื่ออภิสิทธิ์ประกาศ
ไม่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหลังการเลือกตั้ง ทำาให้ฝ่ายที่สนับสนุน
นพ.วรงค์วิจารณ์อย่างมากถึงแนวทางที่ผิดพลาดของอภิสิทธิ์ ว่าจะทำาให้พรรคประชาธิปัตย์ยิ่งมีคะแนน
ลดลงในการเลือกตั้งครั้งนี้ เพราะเชื่อว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำานวนมากยังคงให้การสนับสนุนพลเอกประยุทธ์
แม้กระทั่งผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์เองก็ตาม
2.2 ปัจจัยระดับพื้นที่
ปัจจัยนี้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับปัจจัยระดับชาติ นับตั้งแต่อดีตเรื่อยมา สงขลามีแกนนำา
สำาคัญของส.ส. 2 คน คือ ถาวร เสนเนียม อดีตรองหัวหน้าพรรคและแกนนำากปปส. และนิพนธ์
บุญญามณี รองหัวหน้าพรรคและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ปัญหาที่เกิดขึ้นประการหนึ่ง
ก็คือ การจัดตัวผู้สมัคร เช่น เขตเลือกตั้งที่ 1 นายนิพนธ์ผลักดันบุตรชายคือ สรรเพชร บุญญามณี
วัย 29 ปี เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแทนที่เจือ ราชสีห์ วัย 60 ปี อดีตส.ส. 4 สมัย ซึ่งถูกโยกให้ไปลงสมัคร
ในระบบบัญชีรายชื่อแทน เจือนั้นนับว่าเป็นอดีตสส. ในกลุ่มของถาวร การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้