Page 127 - kpiebook63006
P. 127
127
บทที่ 5
สรุป อภิปรำยผลและข้อเสนอแนะ :
บริบททำงกำรเมือง เศรษฐกิจและสังคม
ที่เปลี่ยนแปลง คนสงขลำจึงเปลี่ยนไป
สรุปผลการวิจัย
บริบททางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ที่เปลี่ยนแปลงแตกต่างจากการเลือกตั้งครั้งก่อนส่งผล
ทำาให้เกิดความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปของประชาชนใน
จังหวัดสงขลา นำามาสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อผลการเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม 2562 เมื่อพรรค
ประชาธิปัตย์ที่เคยครองความนิยมมาอย่างยาวนานกว่า 20 ปี มีจำานวนส.ส. ครั้งล่าสุด 8 คน หรือ 8 เขต
เลือกตั้ง ต้องเหลือเพียง 3 คน หรือ 3 เขตเลือกตั้งเท่านั้น เป็นที่น่าสังเกตว่า พรรคประชาธิปัตย์สามารถ
รักษาที่นั่งได้เฉพาะในเขตเลือกตั้งที่ยังมีความเป็นชนบทสูงมากกว่าความเป็นเมือง ในขณะที่พื้นที่ที่มีความ
เป็นเมืองสูง พรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้การเลือกตั้งให้กับพรรคพลังประชารัฐทั้งหมด รายละเอียดมีดังนี้
1. บริบททางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
1.1 บริบททำงกำรเมือง
1.1.1 ระบบกำรเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม
ระบบเลือกตั้งใหม่ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 นำาคะแนนของผู้สมัครทุกคนในระบบเขตไปรวม
คะแนนเพื่อจัดสรรที่นั่งของส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ นับเป็นปัจจัยที่ทำาให้มีจำานวนผู้สมัครในแต่ละเขต
เลือกตั้งทั่วประเทศเป็นจำานวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งของไทยเนื่องจากพรรคการเมือง