Page 128 - kpiebook63006
P. 128

128   การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา






             ต่างๆ หวังคะแนนเสียงของผู้สมัครแต่ละคนไม่ว่าจะมากหรือน้อยเพียงใดก็ตามเพื่อนำาไปคำานวณคะแนน

             ในระบบบัญชีรายชื่อ จังหวัดสงขลามีผู้สมัครรวมทุกเขตเลือกตั้ง 269 คน ในขณะที่การเลือกตั้งเมื่อปี
             2554 มีผู้สมัครรวมทุกเขตเลือกตั้งทั้งสิ้นเพียง 31 คนเท่านั้น หรือเฉลี่ยเขตเลือกตั้งละ 4 คน ระบบการ

             เลือกตั้งใหม่นี้จึงนับเป็นปัจจัยสำาคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภูมิทัศน์การเมืองของจังหวัดสงขลา


                            1.1.2 คนวัยหนุ่มสำวผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก


                        คนวัยหนุ่มสาวโดยเฉพาะผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นครั้งแรกมีความตื่นตัวทางการเมืองสูงและ
             มีจำานวนมากเนื่องจากการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายปี 2554 ห่างจากการเลือกตั้งครั้งนี้ยาวนานถึง 8 ปี จึงนับเป็น
             หนึ่งในตัวแปรที่มีผลต่อความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมทางการเมืองทั้งในด้านการหาเสียง

             และคะแนนความนิยมของผู้สมัครและพรรคการเมืองต่างๆ ในขณะที่คนหนุ่มสาวกลุ่มนี้ให้ความสนใจ

             ทางการเมืองเป็นอย่างมากโดยเฉพาะการรับข้อมูลข่าวสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ
             การเลือกตั้งผ่านสื่อสังคมออนไลน์




                            1.2 บริบททำงเศรษฐกิจ


                        ภาวะเศรษฐกิจที่เสื่อมถอยทั่วประเทศ ในขณะที่พื้นที่ภาคใต้รวมถึงสงขลา พืชเศรษฐกิจ
             หลักคือ ยางพาราและปาล์มนำ้ามันมีราคาลดตำ่าลงอย่างรุนแรงกว่าในอดีตเป็นอย่างมากในยุคสมัยของ

             รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เกิดขึ้นหลังการรัฐประหารปี 2557 ผลกระทบที่ตามมาทำาให้เกิด
             วิกฤติเศรษฐกิจ ประชาชนจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าลดลงไม่เพียงสินค้าอุตสาหกรรมที่เคยเฟื่องฟูในช่วงที่

             ยางพาราและปาล์มนำ้ามีราคาสูง เช่น รถจักรยานยนต์ รถยนต์กระบะ เท่านั้น แม้กระทั่งสินค้าอุปโภค
             บริโภคที่จำาเป็นในชีวิตประจำาวันก็ตกอยู่ในภาวะซบเซาเช่นเดียวกัน


                      ประชาชนในพื้นที่เห็นว่า สภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจมาจากสาเหตุที่การเมืองของประเทศ

             ยังไม่หวนกลับคืนไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่มีตัวแทนและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง โดยรัฐบาล
             คสช. บริหารประเทศยาวนานมากเกินไป ต้องการให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วเพราะเห็นว่า หลังการเลือกตั้ง

             น่าจะส่งผลทำาให้ภาวะเศรษฐกิจกระเตื้องขึ้นจากบรรยากาศทางการเมือง โดยเฉพาะการมีรัฐบาลที่มา
             จากตัวแทนของประชาชน


                            1.3 บริบททำงสังคม


                        การเลือกตั้งในครั้งนี้แตกต่างอย่างมากเมื่อเทียบกับการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ แม้กระทั่ง
             การเลือกตั้งเมื่อ 8 ปีที่แล้ว คือ ปี 2554 ประการหนึ่งก็คือ การใช้สื่อสังคมออนไลน์เช่น เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์

             อินสตาแกรม ในการหาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการสื่อสาร 2 ทาง ที่ทำาให้ผู้สมัครกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีโอกาส
             ที่จะโต้ตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันได้ อีกทั้ง ประชาชนยังสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร

             ระหว่างกันในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้สมัคร พรรคการเมืองและความคิดเห็นต่างๆ ของตนเองได้อย่างแพร่หลาย
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133