Page 138 - kpiebook63006
P. 138

138   การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา






             คณะรัฐมนตรีเป็นระยะ ในโอกาสและสถานที่ต่างๆ ส่วนเขตเลือกตั้งที่ 2 ซึ่งเป็นพื้นที่ อ.หาดใหญ่ทั้งหมด

             ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจสูงมาก การค้าขาย จับจ่ายซื้อสินค้าที่เคยคึกคักในอดีตก็ซบเซา
             ลงเป็นอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เสียงสะท้อนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็ไม่แตกต่างจากพื้นที่เขต 7

             เมื่อเห็นว่าอดีตส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้แสดงบทบาทในการเป็นกระบอกเสียงถึงความเดือดร้อน
             ของประชาชนเพื่อให้รัฐบาลเร่งรีบหามาตรการแก้ไขทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เขตเลือกตั้งที่ 2 นี้ จึงเป็น

             เพียงเขตเดียวที่ผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์คือ ภิรพล ลาภาโรจน์กิจ มีคะแนนลดลงมากจนหล่นลงไป
             อยู่ในอันดับที่ 3 พ่ายแพ้ให้กับผู้สมัครของพรรคพลังประชารัฐ คือ ศาสตรา ศรีปาน และอันดับที่ 2 คือ

             อัครพล ทองพูน ผู้สมัครจากพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งทั้ง 2 คน ล้วนเป็นผู้สมัครหน้าใหม่ในการเลือกตั้งครั้งนี้





                      3. ปัญหำภำยในพรรคประชำธิปัตย์


                      การเลือกตั้งเพื่อให้ได้มาซึ่งหัวหน้าพรรคคนใหม่ของพรรคการเมืองย่อมเป็นวิถีทางปกติของ

             ระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งยังสะท้อนถึงความเป็นสถาบันของพรรคการเมืองในประเด็นที่พรรคการเมือง
             เป็นของสมาชิกทุกคน ไม่มีใครเป็นเจ้าของพรรค การเปลี่ยนแปลงตัวหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหาร

             พรรคจึงต้องดำาเนินไปอย่างราบรื่นที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องยอมรับในกติกา ยอมรับในกระบวนการทั้งก่อน
             การเปลี่ยนแปลงและหลังการเปลี่ยนแปลงแล้ว แต่การเลือกตั้งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เมื่อวันที่

             10 พฤศจิกายน 2561 ได้ส่งผลต่อเอกภาพภายในพรรค แม้ว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้สมัคร 3 คนคือ
             อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรค นพ. วรงค์ เดชกิจวิกรม และอลงกรณ์ พลบุตร แต่คู่แข่งขันและ

             มีเสียงสนับสนุนในหมู่อดีตส.ส. เป็นจำานวนมากคือ อภิสิทธิ์ กับนพ.วรงค์ โดยนพ.วรงค์ ได้รับการสนับสนุน
             จากอดีตส.ส. กลุ่มกปปส. เช่น ถาวร เสนเนียม หนึ่งในแกนนำากลุ่มกปปส. อดีตส.ส. สงขลา (มติชน

             รายสัปดาห์, 21-27 กันยายน 2561, วิเคราะห์ : ศึกสายเลือด “สีฟ้า” กปปส.ในร่าง “วรงค์” ชิง “หัวหน้า”
             จาก “มาร์ค” ปูทาง “คสช.” ยึด ปชป.? (ออนไลน์), 13 มิถุนายน 2562, แหล่งที่มา https://www.matichon

             weekly.com/column/article_ 135383)


                      หลังการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคที่อภิสิทธิ์ชนะ แนวทางการดำาเนินงานทางการเมืองในการเลือกตั้ง
             24 มีนาคม 2562 มีความแตกต่างแทนที่จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะเมื่ออภิสิทธิ์ประกาศ

             ไม่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง และเมื่อผลการเลือกตั้ง
             พรรคประชาธิปัตย์แพ้อย่างยับเยินแม้กระทั่งในพื้นที่ภาคใต้ นพ.วรงค์ ก็ได้วิพากษ์วิจารณ์แนวทางการเมือง

             ของอภิสิทธิ์อย่างหนักหน่วงว่า ผิดพลาดอย่างมหันต์ที่ประกาศไม่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จนกลายเป็น
             การ “พาเรือประชาธิปัตย์อับปางเหลือแต่ซาก”
   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143