Page 143 - kpiebook63006
P. 143

143








                          ผู้สมัครเกือบทุกคนทุกพรรคต่างใช้สื่อสังคมออนไลน์โดยเฉพาะเฟสบุ๊ค ในการนำาเสนอนโยบาย

                  พรรค ความคิดเห็นของตนเองในด้านต่างๆ โดยเฉพาะในพื้นที่เขตเลือกตั้ง และความเคลื่อนไหวต่างๆ
                  เมื่อลงพื้นที่หาเสียง บางคนถ่ายทอดสดหรือที่เรียกว่าไลฟ์สด เพื่อให้แฟนเพจ (fanpage) ได้ติดตามและ

                  ถ่ายทอดต่อไปยังเพื่อนๆ ที่อยู่ในเฟสด้วย อย่างไรก็ตาม มีผู้สมัครเพียงบางคนเท่านั้นที่ให้ความสำาคัญ
                  อย่างจริงจังในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการหาเสียง เนื่องจากยังคงเป็นเรื่องใหม่ จึงเห็นว่าไม่น่าจะมี

                  ส่วนสำาคัญในการได้คะแนนนิยม ดังที่ณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ ผู้สมัครของพรรคภูมิใจไทย เขตเลือกตั้งที่ 7
                  ให้ความเห็นว่า


                                       “ผมเริ่มใช้เฟสบุ๊คในการหาเสียงนับตั้งแต่ก่อนจะประกาศให้มีการเลือกตั้งเสียอีก

                                ปรากฏว่าช่วงแรก คณะท�างานหรือทีมหาเสียงไม่เห็นด้วย มองว่าไม่ส่งผลอะไร
                                ในทางการเมือง ต้องท�าแบบเก่าๆ ที่นักการเมืองในอดีตเขาท�าๆ กัน เช่น จัดประชุม

                                ชาวบ้าน รวบรวมพวกหัวคะแนนแต่หลังจากผมใช้เฟสบุ๊คได้สักพักเมื่อเห็นผล สามารถ
                                กระจายข้อมูล มีผู้ติดตามโดยเฉพาะในช่วงไลฟ์สดเป็นจ�านวนมากก็เกิดการยอมรับ

                                ระยะหลังๆ ก็มีผู้สมัครรายอื่นๆ หันมาใช้ แต่ก็ไม่ได้เน้นหนักมากแบบที่ผมท�า”
                                (ณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ, สัมภาษณ์ 12 สิงหาคม 2562)



                          ความแพร่หลายของสื่อสังคมออนไลน์มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยยะสำาคัญต่อคะแนนนิยม

                  ของพรรคอนาคตใหม่เมื่อพรรคสามารถใช้ความเคลื่อนไหวทางการเมืองของหัวหน้าพรรคคือ ธนาธร
                  จึงรุ่งเรืองกิจ เช่น การเปิดประเด็นต่างๆ การแสดงความคิดเห็น การนำาเสนอนโยบายผ่านการสัมภาษณ์

                  รายการที่เกี่ยวข้องกับการเมือง การเลือกตั้งของสถานีโทรทัศน์แล้วนำาไปขยายผลต่อผ่านสื่อสังคมออนไลน์
                  เชื่อมโยงกับผู้สมัครในระบบเขตเลือกตั้ง ปรากฏว่าผู้สมัครในหลายเขตเลือกตั้งมีคะแนนนิยมที่สูงเกิน

                  ความคาดหมายของผู้ติดตามการเมือง ดังที่ปรากฏตามตารางที่ 5.1 เช่น เขตเลือกตั้งที่ 1 นายไพฑูรย์
                  สรรเสริญ ได้คะแนนสูงถึง 12,749 คะแนน เป็นลำาดับที่ 3 สูงกว่าลำาดับที่ 4 คือ นายนราเดช คำาทัปน์

                  จากพรรคภูมิใจไทย ที่ได้คะแนนเพียง 3,313 คะแนนเท่านั้น ทั้งๆ ที่หาเสียงอย่างหนักก็ตาม

                          ในเขตเลือกตั้งที่ 2 ผู้สมัครของพรรคอนาคตใหม่ได้คะแนนสูงมากคือ 19,040 คะแนน

                  เป็นอันดับที่ 2 ในขณะที่อดีตส.ส. ของพรรคประชาธิปัตย์คะแนนนิยมลดลงมากจนได้เพียงอันดับที่ 3 เท่านั้น

                  เมื่อเทียบกับเขตเลือกตั้งทั้ง 8 เขต มีเพียงเขตนี้เท่านั้นที่ผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ได้อันดับที่ 3


                          แม้กระทั่งในเขตเลือกตั้งที่ 8 ผู้สมัครของพรรคอนาคตใหม่คือ อภิสิทธิ์ เพ็ชรประพันธ์ ได้คะแนน
                  สูงถึง 9,966 คะแนน เป็นอันดับที่ 3 มากกว่าอันดับที่ 4 คือ อัศวิน สุวิทย์ พรรคประชาชาติ ที่มีบิดา
                  และพี่ชายเป็นอดีตส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ทั้งๆ ที่อภิสิทธิ์แทบจะไม่ได้หาเสียงด้วยรูปแบบปกติ เช่น

                  การติดโปสเตอร์ การใช้รถแห่ การลงพื้นที่พบปะประชาชนพร้อมบัตรแนะนำาตัว
   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148