Page 148 - kpiebook63006
P. 148
148 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา
นอกเหนือจากบริบททางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ชัยชนะของ
ณัฏฐ์ชนน ยังมาจากปัจจัยส่วนบุคคลของตัวเขาเอง ได้แก่ การเตรียมความพร้อมในการลงสมัคร
รับเลือกตั้งมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่เมื่อเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาแล้วก็มุ่งมั่นที่จะ
ผันตัวเองไปเป็นนักการเมืองระดับชาติ โดยศึกษาและวิเคราะห์พื้นที่เลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 7 มาเป็น
เวลานานกว่า 2 ปีว่า ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่เพื่อแก้ไข
ปัญหาด้วยการนำาเสนอและผลักดันให้รัฐบาลได้รับทราบ เมื่อเทียบตัวเขากับศิริโชคแล้ว ณัฏฐ์ชนน
ได้สร้างการเปรียบเทียบให้ประชาชนเห็นว่าเขาเป็น “ลูกที่” หรือคนพื้นที่จากสโลแกน “ณัฏฐ์ชนน คนบ้าน
เรา” ย่อมเข้าใจและทุ่มเทการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนอย่างแข็งขัน ในขณะที่ศิริโชค เป็นคนกรุงเทพฯ
ที่มาลงสมัครในช่วงที่พรรคประชาธิปัตย์ประสบความสำาเร็จในการสร้างความผูกพัน หรืออัตลักษณ์ของ
พรรคให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนที่สามารถเอาใครก็ได้มาเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง เมื่อศิริโชค แทบจะไม่ได้
กลับมาลงเยี่ยมเยียนประชาชนในพื้นที่แต่กลับปรากฏในภาพข่าวโทรทัศน์ที่ติดตามอภิสิทธิ์ หัวหน้าพรรค
มาโดยตลอดจนเป็นที่รู้จักกันในฉายาว่า วอลเปเปอร์ เพราะยืนประกบอยู่ข้างหลังหัวหน้าพรรคตลอดเวลา
ยิ่งเมื่อเกิดการรัฐประหารและบริหารประเทศโดยรัฐบาลที่มีผู้นำาคสช. เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งห้าม
พรรคการเมืองกระทำากิจกรรมต่างๆ ทางการเมือง ศิริโชคก็ยิ่งห่างไกลจากประชาชนในพื้นที่
จากการอภิปรายของผู้วิจัยที่ได้กล่าวมาข้างต้น สอดคล้องกับการวิเคราะห์ของณัฏฐ์ชนน
ถึงชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ว่า มีทั้งปัจจัยภายในหรือปัจจัยส่วนบุคคลของตนเองและปัจจัยภายนอก
ปัจจัยภายในมาจากการเตรียมความพร้อมมาอย่างยาวนานของตนเองในการเลือกตั้งครั้งนี้ นับตั้งแต่ก่อน
เลือกตั้งมากกว่า 2 ปี จากกระแสที่เกิดขึ้นในประเทศที่เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งหลังจากคสช. บริหาร
ประเทศหลังการรัฐประหารมานานกว่า 1 ปี ซึ่งไม่เป็นไปตามเพลงที่แต่งขึ้นว่า “เราจะทำาตามสัญญา
ขอเวลาอีกไม่นาน”
“ปัจจัยส่วนบุคคล มาจากความพร้อมของตัวผู้สมัคร ผมวิเคราะห์พื้นที่ขาดว่าประชาชน
เป็นอย่างไร ต้องการอะไร ผมยังเป็นคนกำาหนดเกมด้วยการใช้โซเชียล มีเดีย จนสามารถหาเสียงได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ ทำาให้คู่แข่งพรรคต่างๆ หันมาใช้ตาม นอกจากนั้น ผมยังมีประสบการณ์ในการพูด ในการ
หาเสียง ทั้งจากสมัยเป็นนักศึกษาทำากิจกรรม และช่วงของการเป็นสมาชิกอบจ. ในขณะที่ปัจจัยภายนอก
ได้แก่ ความรู้สึกเบื่อหน่ายของประชาชนที่มีต่อพรรคและนักการเมืองเดิมๆ ต้องการเปลี่ยนผู้แทน ต้องการ
เปลี่ยนพรรค พรรคภูมิใจไทยเป็นพรรคสายกลาง ไม่เป็นคู่ขัดแย้งกับใคร ฝ่ายไหน ต่างจากพรรคเดิมๆ
ที่มีอยู่ และอีกประการหนึ่งคือ ปัญหาเศรษฐกิจในพื้นที่ ปัญหาปากท้องที่ประชาชนต้องการให้มีการแก้ไข
ซึ่งผมและพรรคได้เสนอแนวทางในเรื่องนี้มาโดยตลอด” (ณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ, สัมภาษณ์ 12 สิงหาคม
2562)