Page 144 - kpiebook63006
P. 144

144   การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา






                      จากปัจจัยต่างๆ ที่นับว่าเป็นบริบททางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมซึ่งส่งทำาให้ผลการเลือกตั้ง

             ของจังหวัดสงขลาเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ในครั้งนี้ ผู้วิจัยขอวิเคราะห์และอภิปรายเพิ่มเติมในแต่ละ
             เขตเลือกตั้งดังนี้


                      เขตเลือกตั้งที่ 1


                      ผู้ชนะเลือกตั้งคือ วันชัย ปริญญาศิริ จากพรรคพลังประชารัฐ ได้ 37,245 คะแนน ส่วนพรรค

             ประชาธิปัตย์คือ สรรเพชญ บุญญามณี ได้ 24,797 คะแนน ในขณะที่การเลือกตั้งปี 2554 เจือ ราชสีห์
             พรรคประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้งได้ 64,260 คะแนน ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า คะแนนความนิยมที่ผู้มี
             สิทธิเลือกตั้งเคยมีต่อพรรคประชาธิปัตย์ได้เคลื่อนย้ายไปยังพรรคพลังประชารัฐ คะแนนของสรรเพชญ

             ส่วนใหญ่จึงน่าจะเป็นคะแนนนิยมส่วนบุคคลทำาให้พ่ายแพ้การเลือกตั้งในครั้งนี้


                      วันชัยแม้ว่าอดีตเป็นนักการเมืองท้องถิ่นหลายสมัย แต่สำาหรับการเมืองระดับชาติเขากลับไม่
             สามารถสร้างความโดดเด่นให้เป็นตัวเลือกที่สามารถต่อกรกับผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ได้ ในช่วง

             ของการหาเสียงเลือกตั้งและก่อนสัปดาห์สุดท้ายที่จะถึงวันหย่อนบัตรเลือกตั้งวันชัย ยังคงมีคะแนนนิยม
             ไม่มากนัก แต่หลังจากที่อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ประกาศไม่สนับสนุนพลเอก

             ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง คำาประกาศดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
             จากที่เคยสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ ไปเป็นคะแนนสนับสนุนพรรคพลังประชารัฐแทนที่ การสนับสนุน

             พรรคพลังประชารัฐถูกแปรความหมายว่าเป็นการสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อให้เป็น
             นายกรัฐมนตรีอีกสมัย


                      ในขณะเดียวกัน ในการหาเสียงลงพื้นที่ วันชัยใช้นโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็นกลยุทธ์

             สำาคัญในลำาดับแรกๆ โดยเฉพาะในย่านชุมชนเมืองที่ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนยังคงมีความสัมพันธ์
             ใกล้เคียงกับสังคมชนบทที่มีลักษณะความเป็นเครือญาติ รู้จักมักคุ้นกัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ

             ย่านที่ลักษณะบ้านเรือนเป็นแบบบ้านไม่มีรั้ว แตกต่างจากบ้านของคนชั้นกลางหรือบ้านมีรั้ว ซึ่งมี
             ความแตกต่างในพฤติกรรมทางการเมืองและพฤติกรรมการออกเสียงเลือกตั้งพอสมควร


                      ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งในเขตเลือกตั้งนี้มีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้สมัครจากอดีตส.ส. 4 สมัย

             มาเป็นคนหนุ่มวัยเพียง 29 ปี และเป็นบุตรชายของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ส่งผลต่อเอกภาพ
             ในการหาเสียงในพื้นที่ตามที่ได้อภิปรายมาแล้วในบทที่ 4 เมื่อกระแสความนิยมที่มีต่อพรรคลดตำ่าลง

             และความนิยมที่มีต่อผู้สมัครไม่มากนักในฐานะผู้สมัครหน้าใหม่จึงพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งครั้งนี้


                      ผู้สมัครที่ได้คะแนนอันดับที่ 3 คือ ไพฑูรย์ สรรเสริญ จากพรรคอนาคตใหม่ สะท้อนให้เห็นถึง
             บทบาทของสื่อสังคมออนไลน์ในการหาเสียงเลือกตั้งในครั้งนี้ และสะท้อนให้เห็นถึงการเลือกพรรค

             เลือกนโยบายของพรรคมากกว่าตัวผู้สมัครเนื่องจากไพฑูรย์ไม่ได้เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง อีกทั้งเมื่อเปรียบเทียบ
             กับนราเดช คำาทัปน์ ผู้สมัครจากพรรคภูมิใจไทย ที่ได้คะแนนเป็นอันดับที่ 4 ปรากฏว่านราเดช ลงพื้นที่
   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149