Page 43 - kpiebook63005
P. 43

42    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดขอนแก่น








             กองทัพแทน  อนึ่ง กิจกรรมที่มีเนื้อหาเช่นนี้เคยเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายมาแล้วภายหลังการรัฐประหาร
                        56
             ในปี 2549 57


                      ในช่วงเวลาเดียวกัน หากมินับถึงโครงการ “คนไทยหัวใจเดียวกัน” จะพบว่าเพียงแค่ในหนึ่งปีแรก
             หลังรัฐประหาร กอ.รมน. ได้เข้าไปปฏิบัติการทางจิตวิทยากับชาวบ้านดังเช่นที่เคยต่อสู้กับคอมมิวนิสต์

             ตามหมู่บ้านในอดีต มีการสร้างแนวร่วมมวลชน มีการจัดโครงการสร้างความปรองดองในหมู่บ้านต่างๆ
             โดย กอ.รมน. เอง และมีการนำานโยบายของรัฐบาลไปอธิบายพูดคุยให้ชาวบ้านเข้าใจ จำานวน 173,073 ครั้ง

             และสามารถระดมประชาชนเข้าร่วมได้จำานวน 9,151,850 คน  นับจากนั้น กอ.รมน. ได้เป็นเจ้าภาพ
                                                                    58
             ในการจัดโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ทุกปี โดยปีล่าสุดคือปี 2561 กอ.รมน.ได้งบจัดการสร้าง

             ความปรองดองสูงถึง 500,470,800 บาท โดย กอ.รมน. เป็นเจ้าภาพใหญ่ ทำางานร่วมกับ 5 กระทรวง
             15 หน่วยงาน ในรายงานบทสรุปของโครงการระบุว่า มีผู้ร่วมโครงการโดยตรง 57,285 คน ครอบคลุม

             77 จังหวัดและโดยอ้อมกว่าสองแสนคน ตลอดจน กอ.รมน. ยังได้จัดตั้ง “ศูนย์การเรียนรู้” ทั่วประเทศ
             700 แห่ง และจัดตั้งชุมชนปรองดอง 77 แห่ง มีนักเรียนเข้าร่วม 18,079 คน ผู้ปกครอง 36,158 คน

             และ ครู 1,322 คน 59


                      อนึ่ง ควรทำาความเข้าใจความปรองดองในทัศนะของกองทัพ กองทัพเชื่อว่า ความปรองดองคือ
             การที่คนไทยทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคีและบ้านเมืองเป็นระเบียบเรียบร้อย รักในชาติ ศาสนาและ
             พระมหากษัตริย์ ขณะที่การวิจารณ์รัฐบาล คสช. ถือว่าเป็นการปลุกปั่นสร้างความไม่สงบให้บ้านเมือง

                                                           60
             ซึ่งไม่เป็นผลดีกับการสร้างความปรองดองแต่อย่างใด  ดังนั้น หากไม่นับถึงโครงการสร้างความปรองดอง
             กอ.รมน. ยังได้ว่าจ้างวิทยากร เช่น อรพิมพ์ รักษาผล (ผู้ที่เคยตำาหนิว่า คนอีสานไม่รักในหลวง) เพื่อพูดใน
             “โครงการสร้างการรับรู้ในพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์”
             ตามโรงเรียนและหน่วยงานสำาคัญต่างๆ ทั่วประเทศ พร้อมกันนั้น กอ.รมน. ยังจัดทหารเข้าไปบรรยายใน

                                                                             61
             โรงเรียนบ่อยครั้งเพื่อกล่าวถึงความสำาคัญของค่านิยม 12 ประการของ คสช.  ไม่เพียงแต่ กอ.รมน. รัฐบาล

             56  Khajornsak, “The Coup and Crisis: the 2014 Military Coup d’état and the Redshirt movement in Thailand.”
             57  ศิวัช ศรีโภคางกุล, รายงานการวิจัยเรื่อง “กระบวนการสร้างระบอบเผด็จการทหารภายในประเทศ: การก่อรูปสร้าง
             รัฐทหารของกองอำานวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549-2551”
             58  สำานักนายกรัฐมนตรี, “รายงานผลการดำาเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีครบรอบ
             ๑ ปี (๑๒ กันยายน ๒๕๕๗-๑๒ กันยายน ๒๕๕๘),” http://www.soc.go.th/acrobat/payut_report1_16.pdf (เข้าถึงเมื่อ
             10 สิงหาคม 2559)
             59  ขนิษฐา เทพจร, “2 ปีทุ่มงบเหยียบพันล้าน เพื่อ “งานปรองดอง” สุดท้าย ได้แค่ภาพลวงตา” กรุงเทพธุรกิจ,
             30 สิงหาคม 2561. หน้า 14.
             60  พิจารณาบทวิเคราะห์ใน Siwach Sripokangkul, “Reconciliation as Free-Floating Signification: Reconciliation
             after 2014 Coup in Thailand” Asia-Pacific Social Science Review 15 (2) (2015): 108-132.
             61  Puangthong R. Pawakapan, “The Central Role of Thailand’s Internal Security Operations Command in the
             Post-Counter-insurgency Period” (Trends in Southeast Asia (TRS)) (2017), https://www.iseas.edu.sg/images/pdf/
             TRS17_17.pdf (accessed 14 April 2018)
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48