Page 44 - kpiebook63005
P. 44

43








                  ยังมีนักรบไซเบอร์ที่ช่วยสอดส่องสิ่งที่รัฐเห็นว่าเป็นภัยในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะการกดถูกใจ (like) แบ่งปัน

                  (share) หรือกระทั่งเข้าไปส่องเฟซบุ๊กเพจที่ผิดกฎหมาย หมิ่นสถาบัน และวิจารณ์รัฐบาลอย่างรุนแรง 62


                          เมื่อความเข้าใจของกองทัพที่มีต่อความปรองดองเป็นเฉกเช่นข้างต้น จึงไม่แปลกใจที่รัฐบาล
                  กล่าวถึงความสำาเร็จหลังยึดอำานาจในปี 2557 ว่า ตนเองสามารถสร้างความปรองดองในสังคมไทย

                  ได้สำาเร็จ โดยมีตุ๊กตา “น้องเกี่ยวก้อย” เป็นประจักษ์พยานถึงความปรองดองที่บรรลุผล พ.อ. วันชนะ
                  สวัสดี ผู้ช่วยโฆษกกระทรวงกลาโหม เคยกล่าวในปี 2561 ว่า “การปรองดองของ คสช.มาถูกทาง

                                                                          63
                  ถ้าไม่ถูกทางต้องมีกลุ่มเสื้อแดงหรือเสื้อเหลืองออกมาชุมนุมแล้ว”  ความเข้าใจเช่นนี้กลับละเลยและมอง
                  ไม่เห็นถึงความสลับซับซ้อนของปมปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย คำาถามสำาคัญคือ ความปรองดอง

                  จะเกิดจากฝ่ายเดียวคือ กองทัพ และแบบบนลงล่าง (top-down) ได้อย่างไร รวมถึงความปรองดอง
                  จะเกิดขึ้นได้อย่างไรหากไม่มีการรื้อฟื้นความยุติธรรมให้ทุกฝ่ายขัดแย้ง กล่าวให้ถึงที่สุดแล้ว การสร้าง

                  ความปรองดองในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้ถูกลดทอนความหมายให้เหลือเพียงการสอดส่องผู้เห็นต่าง
                  การข่มขู่ปิดปาก การจับกุมละเมิดสิทธิมนุษยชน การสลายความทรงจำาของผู้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและ

                  การผลิตซำ้าอุดมการณ์ราชาชาตินิยมและทหารนิยมเป็นหลัก 64


                          นอกจากนี้ ในช่วงก่อนการเลือกตั้งปี 2562 กอ.รมน. ได้มีการปรับโครงสร้างภายใน โดยมี
                  การตั้งศูนย์การประสานการปฏิบัติ (ศปป.) ขึ้นมา 5 ศูนย์ โดยมี 2 ศูนย์ที่ทำาหน้าที่เสริมสร้างความ
                  มั่นคงของรัฐ ได้แก่ การปกป้องสถาบันหลักของชาติ การสร้างความปรองดอง และการติดตามภัย

                  คุกคามไซเบอร์โดยเฉพาะ นักวิเคราะห์บางส่วนมองว่าเป็นการจัดทัพของกองทัพให้มีความพร้อม

                                 65
                  ก่อนการเลือกตั้ง  เช่นเดียวกัน มีการเปิดเผยถึงการวางตัวของ กอ.รมน. ในการสนับสนุนผลักดันให้
                  พล.อ. ประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปหลังจากการเลือกตั้ง เช่น ข่าวที่ปรากฏในต้นปี 2561 ระบุว่า
                  กอ.รมน.ได้จัดตั้งเครือข่ายสายลับ 007 เพื่อให้ประชาชนแจ้งความมั่นคงผ่านไลน์แอปพลิเคชั่นให้ทหาร

                                                                                            66
                  ได้รับทราบ ความมั่นคงในแง่นี้หมายรวมถึงกระแสของผู้ที่ต่อต้านพล.อ. ประยุทธ์  หรือข่าวในช่วง
                  เดือนธันวาคมปีเดียวกัน ระบุว่า กอ.รมน.ได้จัดประชุมร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกำานัน
                  ผู้ใหญ่บ้านอย่างต่อเนื่อง โดยอ้างถึงวัตถุประสงค์ว่า เพื่อสร้างแนวทางความเข้าใจร่วมกันในการเลือกตั้ง
                  ที่กำาลังจะเกิดขึ้น เพื่อสร้างเครือข่ายมวลชนให้เข้มแข็ง มีอุดมการณ์รักชาติ สามัคคีและปกป้อง



                  62  “รัฐบาลเปิดแผนสร้าง “นักรบไซเบอร์”” BBC Thai, 10 พฤษภาคม 2561 https://www.bbc.com/thai/
                  thailand-44069709 (เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2561,
                  63  “กลาโหมจ่อพาน้อง“เกี่ยวก้อย”บุก “สยาม” สร้างปรองดอง-พบปะ คนรุ่นใหม่ ” มติชน, 25 เมษายน 2561
                  https://www.matichon.co.th/politics/news_930223 (เข้าถึงเมื่อ 27 เมษายน 2561)
                  64  Siwach Sripokangkul, “Reconciliation as Free-Floating Signification: Reconciliation after 2014 Coup
                  in Thailand.”
                  65  ปรัชญา นงนุช “จัดแถวทหาร ปรับลุค กอ.รมน. สลายทหารการเมือง หมดยุคเครื่องมือกองทัพ?” มติชนสุดสัปดาห์,
                  11 มกราคม 2562 หน้า 87
                  66  “กอ.รมน.ผุดเครือข่ายสายลับ007” ไทยโพสต์, 22 มีนาคม 2561 หน้า 3
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49