Page 41 - kpiebook63005
P. 41

40    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดขอนแก่น








             การอาศัยกลไกและนโยบายรัฐบาลเพื่อการหาเสียงฝ่ายเดียว


             ของพล.อ. ประยุทธ์


                      การอาศัยกลไกรัฐในการคำ้ายันอำานาจเป็นเรื่องปกติของรัฐบาลในสังคมการเมือง แต่ในกรณีของไทย
             ภายหลังการรัฐประหารในปี 2557 หากมองในภาพใหญ่ จะพบว่า ไม่เพียงแต่รัฐบาล คสช. ได้ละเมิดสิทธิ

             มนุษยชนและปิดกั้นเสรีภาพอย่างกว้างขวาง รัฐบาลยังได้เพียรพยายามในการทำาทุกวิถีทางเพื่อให้มวลชน

             ศรัทธาชื่นชมในพล.อ.ประยุทธ์ ผ่านกลไกหน่วยงานพันลึกของกองทัพคือ กองอำานวยการรักษาความมั่นคง
             ภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ทั้งนี้ ในสภาวะปกติ ไม่มีรัฐบาลพลเรือนใดที่ได้พึ่งพาการทำางานของ
             กอ.รมน. เพื่อหาคะแนนความนิยมให้ตนเองได้เช่นนี้มาก่อน ดังนั้น หากจะวิเคราะห์คะแนนความนิยมของ

             พล.อ.ประยุทธ์จึงไม่สามารถมองข้ามการทำางานของ กอ.รมน. ได้ ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็ได้อาศัยนโยบาย

             ประชานิยม (แม้จะเรียกว่าประชารัฐ) ในการอัดฉีดงบประมาณมหาศาลให้คนรากหญ้า ส่งผลทำาให้ได้รับ
             คะแนนความนิยมจากคนเหล่านี้จำานวนมาก กระนั้นก็ดี เนื่องจาก คสช.ห้ามพรรคการเมืองและนักการเมือง
             ทำากิจกรรมทางการเมือง ลิดรอนสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน ตัดทอนการตรวจสอบของภาคประชาสังคม และ

             ปิดปากฝ่ายตรงข้ามและผู้วิจารณ์รัฐบาล เช่นเดียวกับไม่มีฝ่ายค้านในสภานิติบัญญัติ ตลอดจน บุคลากรของ

             องค์กรอิสระในกระบวนการยุติธรรมต่างได้รับการคัดสรรมาจากเครือข่าย คสช. ผลที่ตามมาทำาให้นโยบายต่างๆ
             ของรัฐบาลไม่สามารถถูกตรวจสอบและถ่วงดุล หรือพิสูจน์ความโปร่งใสได้ ดังนั้น นโยบายที่พรั่งพรูออกมา
             จึงเปรียบเสมือนความตั้งใจในการหาเสียงฝ่ายเดียวของพล.อ.ประยุทธ์ นี่เป็นปัจจัยแกนกลางสำาคัญที่

             ทำาให้พล.อ.ประยุทธ์มีคะแนนนิยมค่อนข้างสูงและทำาให้ตนเองมั่นใจว่าจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปหาก

             มีการเลือกตั้งทั่วไป ในแง่นี้จึงควรพิจารณาการทำางานของ กอ.รมน.กับนโยบายประชารัฐหลังรัฐประหาร
             ปี 2557 ควบคู่กัน


                      กอ.รมน. ในฐำนะกลไกรัฐในชีวิตประจ�ำวันกับกำรสร้ำงฐำนคะแนนเสียง


                      ภายหลังการรัฐประหารในปี 2557 จนถึงสิ้นปีเดียวกัน นโยบายสำาคัญของ คสช. คือ การคืน
             ความสุขให้คนในชาติ โดยมีชุดโครงการมากมาย โดยเฉพาะการแสดงกิจกรรมบันเทิงตามสถานที่ต่างๆ

             ไม่ว่าจะเป็นดนตรี การละเล่น การบริการอาหาร การตัดผมฟรี การบริการตรวจสุขภาพ การฝึกสอนอาชีพ
             การจำาหน่ายสินค้าในราคาประหยัด การซื้อลิขสิทธิ์เพื่อให้ดูฟุตบอลโลกฟรี ตลอดจน มีจัดฉายภาพยนตร์

             และสารคดีปลุกใจให้ประชาชนมีความรักชาติและสถาบันกษัตริย์อย่างต่อเนื่อง กิจกรรมจำานวนมากเหล่านี้
             ถูกจัดทั่วประเทศโดยมีกลไกหลักในการทำาหน้าที่คือ ทหารในสังกัด กอ.รมน. 52







             52   นัชชา ตันติวิทยาพิทักษ์, “กอ.รมน.มาดนิ่ม กอ.รมน.วัยทีน” ประชาไท, 6 มีนาคม 2562 https://prachatai.com/
             journal/2018/03/75734 (เข้าถึงเมื่อ 7 มีนาคม 2562)
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46