Page 39 - kpiebook63005
P. 39

38    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดขอนแก่น








             และประชาชนจำานวนอีก 390 คน ถูกตั้งข้อหาฝ่าฝืนประกาศและคำาสั่งหัวหน้า คสช. ที่ห้ามชุมนุมทาง

             การเมือง  มีประชาชนที่ถูกเรียกรายงานตัวและปรับทัศนคติ มีผู้ที่ถูกข่มขู่ คุกคามและติดตาม อย่างน้อย
                     43
             1,138 คน กิจกรรมสาธารณะถูก คสช. หรือเจ้าหน้าที่ทหารปิดกั้นและแทรกแซง อย่างน้อย 264 กิจกรรม

             มีกลุ่มองค์กรชาวบ้าน/ชุมชน หรือประชาสังคม ที่ถูกปิดกั้นการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและ
             การชุมนุมแล้วอย่างน้อย 66 กลุ่ม  และเพียงแค่วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 วันเดียว หรือครบรอบ
                                           44
             สี่ปีการทำารัฐประหาร กลุ่มผู้ชุมนุมที่อยากเลือกตั้งก็ถูกดำาเนินคดีถึง 62 คน  ทั้งๆ ที่การเลือกตั้งเป็นการ
                                                                              45
             แสดงเจตจำานงทางการเมือง ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่ประชาชนมีอยู่ไม่กี่ชิ้น ในการช่วยให้พวกเขาสามารถ

             กำาหนดชะตากรรมของสังคมการเมืองได้ด้วยตนเอง


                      ต่อมารัฐบาลยืนยันว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งในช่วงระหว่างปลายปี 2561 ถึงต้นปี 2562
             บรรยากาศการเคลื่อนไหวของมวลชนทั่วประเทศกลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยเป็นการเคลื่อนไหวต่อต้าน

             การเลื่อนการเลือกตั้ง กลุ่มนักศึกษาและภาคประชาชนในจังหวัดขอนแก่นอีกเช่นกัน ได้จัดกิจกรรมคัดค้าน
             การเลื่อนเลือกตั้ง ที่บริเวณนอกประตูมหาวิทยาลัยขอนแก่น เนื่องจากผู้บริหารมหาวิทยาลัยไม่อนุญาต

             ให้ใช้สถานที่ภายในมหาวิทยาลัย กิจกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2562 ท่ามกลาง
             การจับตามองและถ่ายเอกสารบัตรประชาชนของผู้ชุมนุมจากเจ้าหน้าที่ความมั่นคง  ขณะที่ก่อนหน้านี้
                                                                                      46
             ในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2562 กลุ่มสตรีพัฒนาอีสานได้จัดชุมนุมที่หน้าบริเวณตึกคอม ตัวเมืองขอนแก่น
             เพื่อคัดค้านการเลื่อนเลือกตั้ง โดยชูป้าย “คนขอนแก่นไม่เลื่อนเลือกตั้ง ไม่เลื่อน ไม่ล้ม ไม่ต่อเวลา”

             เป็นต้น ช่วงเวลาเดียวกัน ประชาชนแต่ละจังหวัดได้จัดกิจกรรมแสดงออกการคัดค้านการเลื่อนการเลือกตั้ง
             จำานวนมาก กล่าวได้ว่า ท่าทีและอารมณ์ของสังคมไทยในขณะนั้นต่างกังวลกับการเลื่อนการเลือกตั้ง

             เนื่องจากก่อนหน้านี้มีการเลื่อนการเลือกตั้งมาหลายรอบ 47








             43  บีบีซีไทย, “4 ปีรัฐประหารมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ของใคร?,” BBC Thai, 22 พฤษภาคม 2561 https://www.bbc.com/
             thai/resources/idt-sh/thai_junta (เข้าถึงเมื่อ 22 พฤษภาคม 2561)
             44  “สถิติคุกคามประชาชนยุค คสช. นับพัน ศูนย์ทนายความฯ ชี้ต้องจัดการกฎหมายที่ออกโดย คสช.” ประชาไท,
             19 พฤษภาคม 2561 https://prachatai.com/journal/2018/05/76985 (เข้าถึงเมื่อ 20 พฤษภาคม 2561)
             45  ทัศมา ประทุมวัน, อัจฉริยา บุญชัย และ ปุณยวีร์ เวชกรณ์, “‘กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง’ รอบล่าสุด โดนมาแล้วกี่คดี
             ใครโดนแล้วโดนอีก โดนอีกและโดนอีก,” ประชาไท, 5 มิถุนายน 2561 https://prachatai.com/journal/2018/06/77299,
             เข้าถึงเมื่อ 5 มิถุนายน 2561.
             46  “นักศึกษา มข.ชูป้ายค้านเลื่อนเลือกตั้ง ประกาศลั่น 24 ก.พ.ต้องได้เลือกตั้ง (คลิป)” มติชน, 16 มกราคม 2562
             https://www.matichon.co.th/education/news_1321372 (เข้าถึงเมื่อ 16 มกราคม 2562)
             47  Saowanee T. Alexander, “Delayed Elections and Growing Frustrations in Northeastern Thailand” ISEAS,
             (22 January 2019) https://www.iseas.edu.sg/medias/commentaries/item/8933-delayed-elections-and-growing-
             frustrations-in-northeastern-thailand-by-saowanee-t-alexander (เข้าถึงเมื่อ 11 พฤษภาคม 2562)
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44