Page 42 - kpiebook63005
P. 42

41








                          ทั้งนี้ กอ.รมน.ได้รับการจัดตั้งขึ้นในปี 2508 องค์กรนี้มีบทบาทสำาคัญเป็นอย่างยิ่งในยุคสงคราม

                  เย็นจนกระทั่งบทบาทค่อยๆ หายไปหลังจากปี 2523 เนื่องจากความพ่ายแพ้ของพรรคคอมมิวนิสต์
                  แห่งประเทศไทย แต่ กอ.รมน.กลับมามีบทบาทอีกครั้งหลังรัฐประหารปี 2549 เนื่องจากพระราชบัญญัติ

                  ความมั่นคงภายใน พ.ศ. 2551 ได้ให้อำานาจ กอ.รมน. ค่อนข้างสูง และ กอ.รมน. ในขณะนั้นได้ทำาหน้าที่
                  ทุกวิถีทางในการสกัดกั้นมิให้พรรคพลังประชาชนหรือขั้วอำานาจเดิมกลับเข้ามาเป็นรัฐบาล  ต่อมา กอ.รมน.
                                                                                            53
                  มีบทบาทสำาคัญอีกครั้งหลังรัฐประหารปี 2557


                          ควรตระหนักให้มากขึ้นว่า แม้กอ.รมน. เป็นการทำางานร่วมกันของทั้งทหาร ตำารวจและพลเรือน
                  แต่ในความเป็นจริง ฝ่ายที่มีบทบาทมากที่สุดคือทหาร โดยเฉพาะกองทัพบก กล่าวคือ ตำาแหน่ง

                  ผู้บัญชาการทหารบกถือเป็นรองผู้อำานวยการ กอ.รมน. โดยตำาแหน่ง และเสนาธิการทหารบกเป็นเลขานุการ
                  กอ.รมน. ในส่วนของระดับแม่ทัพภาคก็ถือว่าเป็นผู้อำานวยการ กอ.รมน.ประจำาภาค ในแง่นี้ กองทัพจึงมี

                  ความรับผิดชอบสองทาง ทางหนึ่งขึ้นกับกองทัพบก อีกทางขึ้นกับ กอ.รมน. ดังนั้น กองทัพบกจึงมีบทบาท
                  เกี่ยวข้องกับการทำางานของ กอ.รมน.อย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นด้านการกำาหนดนโยบาย สนับสนุนด้าน

                  กำาลังคนและเครื่องใช้เครื่องมือต่างๆ  54


                          ภายหลังยึดอำานาจ คสช. ได้จัดตั้งศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป โดยได้ส่งทหารสังกัด
                  กอ.รมน. ทั้งภาค 1-4 เข้าไปทุกตำาบล ครอบคลุมกว่า 30,842 หมู่บ้านทั่วประเทศ เพื่อจัดโครงการ
                  “คนไทยหัวใจเดียวกัน” อันเป็นกิจกรรมการสร้างความปรองดองร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                  วัตถุประสงค์ของโครงการคือ เพื่อสร้างความรักความสามัคคีของคนในชาติ ให้คนไทยทุกคนยึดมั่นในสถาบัน

                                                                                          55
                  พระมหากษัตริย์และน้อมนำาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อปรับใช้ในชีวิตประจำาวัน  หากพิจารณาจาก
                  งานวิจัยของนักวิชาการที่ลงพื้นที่สังเกตการณ์กิจกรรมของโครงการดังกล่าวจะพบว่า กิจกรรมการสร้าง
                  ความปรองดองประจำาแต่ละตำาบลนั้น มีเจตนาเพื่อดึงมวลชนที่สนับสนุนพรรคการเมือง โดยเฉพาะ

                  พรรคเพื่อไทยให้กลับมาสนับสนุนและเข้าใจเหตุผลการยึดอำานาจของ คสช. กิจกรรมที่จัดจะอยู่ในรูปแบบ

                  เดียวกันทั่วประเทศ ซึ่งจะเริ่มต้นจากการเปิดวีดิโอกล่าวถึงความแตกแยกของคนไทย อันมีส่วนในการนำา
                  ไปสู่การเสียกรุงศรีอยุธยาและการสูญเสียดินแดน 14 ครั้ง ตลอดจนเปิดพระราชกรณียกิจในขณะทรงงาน
                  อันไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยของรัชกาลที่ 9 และเหตุผลในการยึดอำานาจของ คสช. กล่าวได้ว่า คสช.

                  มีความมุ่งหวังให้มวลชนสลับขั้วจากความศรัทธาที่มีต่อพรรคการเมืองหนึ่งไปสู่สถาบันกษัตริย์และ




                  53  ศิวัช ศรีโภคางกุล, รายงานการวิจัยเรื่อง “กระบวนการสร้างระบอบเผด็จการทหารภายในประเทศ: การก่อรูป
                  สร้างรัฐทหารของกองอำานวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549-2551”
                  (ขอนแก่น: วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, 2562)
                  54  อ้างใน สุจิต บุญบงการ และ กนลา สุขพานิช-ขันทปราบ, “งานกิจการพลเรือนของกองทัพไทย” ใน สุรชาติ บำารุงสุข.
                  (บรรณาธิการ), ระบบทหารไทย : บทศึกษากองทัพในบริบททางสังคม-การเมือง (กรุงเทพฯ : สถาบันศึกษาความมั่นคง
                  และนานาชาติ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530) หน้า 37
                  55  รัฐบาลไทย, “รายการเดินหน้าประเทศไทย นำาเสนอผลการดำาเนินงานของ คสช. ในรอบ 2 เดือน,” http://www.
                  thaigov.go.th/index.php/th/program2/ item/ 84987-id84987.html (เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2559).
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47