Page 38 - kpiebook63005
P. 38

37








                  ทั้งหมดของร่างรัฐธรรมนูญได้เต็มที่  ทั้งสองกลุ่มได้ทำากิจกรรมอย่างต่อเนื่องในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น
                                                 39
                  และทำางานคู่ขนานกับกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ในกรุงเทพ ฯ ในการรณรงค์ ฯ โดยมีนักวิชาการและ
                  นักกิจกรรมจำานวนหนึ่งได้เข้าร่วมกิจกรรมต่อต้านในขอนแก่น เช่น วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

                  ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และรังสิมันต์ โรม จากกลุ่ม
                  ประชาธิปไตยใหม่ ได้เข้าร่วมกับกลุ่มดาวดินและกลุ่มอีสานใหม่จัดกิจกรรม “กิจกรรมนั่งอ่านเอกสาร

                  ความเห็นแย้งร่างรัฐธรรมนูญในมหาวิทยาลัยขอนแก่น” ท่ามกลางการถูกปฏิเสธไม่ให้ใช้อาคารสถานที่
                  และการเฝ้าจับตาของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงจำานวนมาก


                          สถานการณ์การข่มขู่ต่อกลุ่มดาวดินเลวร้ายขึ้นเมื่อจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน และ

                  วศิน พรหมณี ถูกตำารวจจับขณะเดินแจกเอกสารความเห็นแย้งร่างรัฐธรรมนูญที่อำาเภอภูเขียว จังหวัด
                  ชัยภูมิ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของไผ่ ก่อนการลงประชามติเพียงหนึ่งวัน จากนั้น ไผ่ถูกดำาเนินคดีและติดคุก

                  ภายใต้มาตรา 112 ด้วยการแบ่งปัน (share) ข่าวจากบีบีซีไทยบนหน้าเฟซบุ๊กของเขา ขณะที่ช่วงเวลา
                  ก่อนหน้านี้ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงได้เชิญนายทัศนัย สุขสบาย กำานัน

                  ตำาบลบ้านเป็ด และกำานันผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่อำาเภอเมืองขอนแก่น เข้าไปปรับทัศนคติที่ค่ายศรีพัชรินทร์
                  เนื่องจากกลุ่มกำานันผู้ใหญ่บ้านเหล่านี้ถือป้ายไวนิลคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญบางมาตรา ณ ที่ว่าการอำาเภอ

                  เมือง 40

                            จะเห็นได้ว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้านระบอบรัฐประหารกลับต้องแลกมาด้วยการ

                  ถูกละเมิดสิทธิและดำาเนินคดีอยู่เนืองๆ ตลอดจนมีบรรยากาศการข่มขู่คุกคามอย่างต่อเนื่อง เช่น กรณี

                  พันโท พิทักษ์พล ชูศรี นำากำาลังค้นบ้านพักของนักศึกษากลุ่มดาวดิน โดยไม่มีหมายศาลในวันที่ 21 มิถุนายน
                  พ.ศ. 2560 เนื่องจากเป็นวันที่พล.อ. ประยุทธ์ เดินทางมาที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น
                                                                                         41

                          หากพิจารณาควบคู่กับปรากฏการณ์ระดับชาติ จะพบข้อมูลที่ไม่น่าแปลกใจ ขณะที่หลังรัฐประหาร
                  จนถึงพ.ศ. 2560 ปรากฏว่า พลเรือนอย่างน้อยจำานวน 2,408 คน ถูกดำาเนินคดีในศาลทหารจำานวน

                  1,886 คดี โดยคดีส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับมาตรา 112  เมื่อครบรอบสี่ปีการทำารัฐประหาร คสช. ได้ดำาเนินคดี
                                                             42
                  กับประชาชนไปแล้วไม่น้อยกว่าจำานวน 640 คน โดยแบ่งเป็นคดีมาตรา 112 จำานวน 131 คน ประชาชน

                  ถูกตั้งข้อหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 จำานวน 78 คน ประชาชนถูกตั้งข้อหา
                  กระทำาผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 จำานวน 41 คน



                  39  มนตรี สิมมาคำา, “คำาเหตุผลเบื้องหลังการใช้สิทธิออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                  ในปี พ.ศ. 2559 ของประชาชนในจังหวัดขอนแก่น” (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย
                  ขอนแก่น, 2562) หน้า 56-58.
                  40  “กำานันบ้านเป็ด โดนปรับทัศนคติ ชูป้ายค้านร่างรธน” กรุงเทพธุรกิจ, 2 มิถุนายน 2558 https://www.bangkok
                  biznews.com/news/detail/649878 (เข้าถึงเมื่อ 23 ธันวาคม 2561)
                  41  Ilaw, “3 ปีที่ขอนแก่น: ยิ่งกด ยิ่งปรากฏความเคลื่อนไหว”
                  42  U.S. State Department, “THAILAND 2017 HUMAN RIGHTS REPORT” https://www.state.gov/documents/
                  organization/277365.pdf (เข้าถึงเมื่อ 16 เมษายน 2561)
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43