Page 34 - kpiebook63005
P. 34
33
หากมินับการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าเป็นโมฆะ
นับว่าเป็นระยะเวลากว่า 8 ปีเลยทีเดียวที่สังคมไทยว่างเว้นจากการเลือกตั้งทั่วไป ถือว่าเป็นระยะเวลาที่
เนิ่นนานเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ ภายหลังพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
(คสช.) ก่อการรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พล.อ. ประยุทธ์ประกาศว่า จะอยู่เพียงไม่นาน
30
ไม่เกินหนึ่งปีภายหลังมีรัฐบาลอย่างเป็นทางการ โดยคาดว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไปภายในปลายปี 2558
ต่อมามีการจัดทำาประชามติเพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 หลังจากนั้น
พล.อ. ประยุทธ์กล่าวกับบันคีมุน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติว่า จะมีการเลือกตั้งทั่วไปใน
กลางปี 2560 จากนั้น ประกาศเลื่อนเป็นปลายปี 2560 เนื่องจากต้องรอให้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
เสร็จสิ้นก่อน ตามมาด้วย พล.อ. ประยุทธ์กล่าวกับโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ฯ ว่าจะมีการ
เลือกตั้งทั่วไปในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 แต่ก็มีการเลื่อนไปเป็น 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 กระทั่ง
มีความเป็นห่วงเรื่องกระทบพระราชพิธีราชาภิเษก จึงเลื่อนไปอีกครั้งเป็นวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 31
ในห้วงระยะเวลากว่า 5 ปีที่ผ่านมาภายใต้การบริหารงานของพล.อ. ประยุทธ์ได้เกิดเรื่องราว
และความเป็นไปจำานวนมาก หากมองในแง่ประวัติศาสตร์ระยะไม่สั้นไปนัก ผู้วิจัยได้แบ่งสถานการณ์ดังกล่าว
ไว้เป็น 3 ประเด็น ได้แก่ หนึ่ง การละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามและนักกิจกรรมทาง
การเมือง สอง การอาศัยกลไกรัฐและนโยบายรัฐบาลเพื่อการหาเสียงฝ่ายเดียวของพล.อ. ประยุทธ์ และ
สาม รัฐธรรมนูญและการเตรียมความพร้อมในการจัดการเลือกตั้ง
30 “ประยุทธ์ยืนยันต้นกันยาได้นายกฯ-ครม. ผมอยู่ไม่นาน” คม ชัด ลึก, 14 เมษายน 2557 หน้า 1,9
31 พลวุฒิ สงสกุล, “ย้อนที่มาเลื่อนเลือกตั้ง 5 ครั้ง ยุค คสช. จากปลายปี 2558 สู่ก่อนพระราชพิธีสำาคัญ” The standard,
9 มกราคม 2562 https://thestandard.co/postpone-election-5-times/ (เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2562)