Page 29 - kpiebook63005
P. 29
28 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดขอนแก่น
ระเบียบวิธีวิจัย
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาในเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยวิธีรวบรวมข้อมูล ดังนี้
1. การศึกษาเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ข้อกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายเกี่ยวกับ
การเลือกตั้ง อำานาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หนังสือ งานวิจัย บทความวิชาการ บทวิเคราะห์ข่าว
ข่าวสารทางการเมืองทั้งจากหนังสือพิมพ์และสื่อออนไลน์ เป็นต้น
2. ข้อมูลเชิงพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วย ข้อมูลประชากร ข้อมูลพรรคการเมืองที่มี
ผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งในปัจจุบัน การเลือกตั้งในอดีต และข้อมูลประวัติผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง
พร้อมความเป็นเครือญาติ หรือเครือข่ายนักการเมืองเก่าทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น และผลการ
เลือกตั้งย้อนหลัง 4 ครั้ง ของจังหวัดขอนแก่น
3. การสัมภาษณ์เชิงลึกในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ
ในจังหวัดขอนแก่น ได้แก่
• ผู้สมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากมีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นจำานวนมาก งานวิจัยนี้จะเน้นสัมภาษณ์
ผู้สมัครจากพรรคการเมืองพรรคใหญ่ที่ได้คะแนนสูงสุดติดอันดับ 1-3 ของแต่ละเขต
อย่างไรก็ตาม ข้อจำากัดบางประการคือการไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้สมัครบางราย และ
แม้จะได้รับข้อมูล แต่เนื่องด้วยระยะห่างระหว่างผู้วิจัยกับผู้ให้สัมภาษณ์ พวกเขาบางส่วน
อาจไม่ปรารถนาที่จะเล่าเรื่องราวบางอย่างได้ หรืออาจจะเล่าบางอย่างและปกปิดบางอย่าง
ในเวลาเดียวกัน หรืออาจจะเล่าตามเลือกสรรไว้เท่านั้น (selective) หรือเลือกที่จะเล่าเฉพาะ
ส่วนที่ตนเองโปรดปราน หรือเล่าบางอย่างด้วยการเสริมแต่งข้อมูลเข้าไปใหม่หรืออาจจะ
ไปไกลถึงสร้างความจริงชุดใหม่ ข้อจำากัดประการต่อมาคือ เนื้อหาในงานวิจัยนี้ทั้งหมด
สะท้อนมาจากจากกลุ่มตัวอย่างเท่านั้น ไม่สามารถอ้างอิงถึงผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งจังหวัด
ได้อย่างครอบคลุม
• เจ้าหน้าที่ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ องค์กรอิสระ องค์กรสาธารณะ และองค์กรอื่นๆ
• นักการเมืองท้องถิ่น
• ประชาชนโดยทั่วไป โดยลงพื้นที่สัมภาษณ์เขต 1, 7 และเขต 10
• บุคคลอื่นๆ
4. การสังเกตทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น โดยใช้การสังเกต บันทึก
และวิเคราะห์บรรยากาศทั่วไป พฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้ง บทบาทหน่วยงานภาครัฐ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีบทบาทในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พฤติกรรมทางการเมือง
ของประชาชนในช่วงก่อนการเลือกตั้ง ช่วงการเลือกตั้ง และช่วงเวลาหลังการเลือกตั้ง