Page 27 - kpiebook63005
P. 27
26 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดขอนแก่น
พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นพรรคที่แสดงเจตนารมณ์สนับสนุนให้พลเอก ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป
มีอดีตนักการเมืองจากพรรคเพื่อไทยจำานวนมากและจากพรรคการเมืองใหญ่อื่นๆ ย้ายเข้ามาเป็นสมาชิกพรรค
(บางคนกล่าวว่าเพื่อหวังให้ตนเองหลุดคดี) ด้วยเหตุนี้ พรรคพลังประชารัฐจึงเชื่อมั่นเต็มที่ว่า ตนเองจะ
สามารถเอาชนะพรรคเพื่อไทยได้ ไม่เพียงเท่านั้น หากพิจารณาถึงเนื้อหาในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 จะพบว่า
ถูกออกแบบมาเพื่อสกัดกั้นพรรคขนาดใหญ่ ตลอดจนให้อำานาจกลุ่มคนที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งสูงกว่า
กลุ่มคนที่มาจากการเลือกตั้งเสียด้วยซำ้า จึงไม่แปลกใจที่นายสมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำาพรรคพลังประชารัฐ
26
ถึงขั้นประกาศด้วยความมั่นใจว่า “รัฐธรรมนูญดีไซน์มาเพื่อพวกเรา” หากพิจารณาเฉพาะเพียงในขอนแก่น
27
เอกราช ช่างเหลา อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และแกนนำาพรรคพลังประชารัฐ เคยกล่าว
ขณะเปิดตัวร่วมเข้าพรรคพลังประชารัฐในกลางเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ว่า “มั่นใจว่าการเลือกตั้ง
ครั้งนี้ ผู้สมัครในนามพรรค พปชร.จะชนะการเลือกตั้งยกจังหวัด ใน 4 จังหวัด ประกอบด้วย จ.ขอนแก่น,
จ.บึงกาฬ, จ.หนองคาย และ จ.หนองบัวล�าภู ที่เหลือคาดว่าจะได้เกิน 50%” แม้แต่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
28
แกนนำาพรรคพลังประชารัฐ ผู้ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการเลือกตั้งในพื้นที่ภาคอีสาน ยังประกาศว่า
“ถ้าหากไม่ได้ ส.ส.ยกจังหวัดขอนแก่น จะเลิกเล่นการเมือง” อนึ่ง ไม่เพียงแค่พรรคพลังประชารัฐเท่านั้น
29
ที่มุ่งหวังจะตัดคะแนนเสียงพรรคเพื่อไทย ยังมีพรรคอื่นอีกจำานวนมากที่มุ่งหวังจะได้คะแนนเสียงจาก
ชาวขอนแก่น ไม่ว่าจะเป็นพรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคเสรีรวมไทย พรรคเศรษฐกิจใหม่
พรรครวมพลังประชาชาติไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคอนาคตใหม่ ฯลฯ
ดังนั้น งานวิจัยชิ้นนี้จึงสนใจที่จะศึกษาความคิดและพฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิออกเสียง
เลือกตั้งในจังหวัดขอนแก่น เพื่อพิจารณาว่า สถานการณ์การเมืองที่เปลี่ยนไปตลอดห้าปีที่ผ่านมา รวมถึง
การประสบพบเจอกับปัจจัยใหม่ๆ จำานวนมาก ชาวขอนแก่นยังคงรักและศรัทธาในพรรคเพื่อไทยเหมือนเดิม
หรือไม่ หรือถ้าใช่หรือไม่ใช่ จะอยู่บนพื้นฐานเหตุผลใด อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะศึกษาถึงความคิดและ
พฤติกรรมของพวกเขา งานวิจัยนี้จะเริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงสถานการณ์ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปกับการ
ชิงความได้เปรียบของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก่อนที่จะพิจารณาถึงความเคลื่อนไหวทางการเมือง
ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งในจังหวัดขอนแก่น จากนั้นจะบรรยายการแข่งขันทางการเมืองและอุปสรรค
ในการหาเสียงของผู้สมัคร ส.ส. และปิดท้ายด้วยการวิเคราะห์ถึงภูมิทัศน์ทางการเมืองของจังหวัดขอนแก่น
26 Prajak Kongkirati and Veerayooth Kanchoochat, “The Prayuth Regime: Embedded Military and Hierarchical
Capitalism in Thailand.” TRaNS: Trans -Regional and -National Studies of Southeast 6(2) (2018): 279–305.
27 คมชัดลึก, ““รัฐธรรมนูญดีไซน์มาเพื่อพวกเรา” ???,” (19 พฤศจิกายน 2561), http://www.komchadluek.net/
news/scoop/352831 (เข้าถึงเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2561)
28 “มั่นใจอีสาน! ‘เอกราช’ โวลั่นกวาดยกเข่ง 4 จว. อ้างชาวบ้านเบื่อนักการเมือง-สร้างวุ่นวายแตกแยก” แนวหน้า,
15 พฤศจิกายน 2561 https://www.naewna.com/politic/377009 (เข้าถึงเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2561)
29 E-DUANG, “ เดิมพัน สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เดิมพัน ขอนแก่น ยกจังหวัด,” (5 กุมภาพันธ์ 2562), https://www.
matichonweekly.com/e-daung/article_167995 (เข้าถึงเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2562)