Page 22 - kpiebook63005
P. 22
21
กรณีทุจริตกับทักษิณ ก่อนหน้านี้ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้า คมช. ได้ยำ้าสมำ่าเสมอถึงนโยบาย
4 ข้อ ของ คมช. ภายหลังรัฐประหาร ที่จะต้องสัมฤทธิ์ผลคือ ข้อแรกคือ ต้องมีการยุบพรรคไทยรักไทย
เพื่อให้สมาชิกพรรคแตกตัวกระจัดกระจาย ข้อสอง ต้องมีการดำาเนินคดีกรณีทุจริตกับทักษิณ ข้อสาม
ผลักดันให้รัฐธรรมนูญที่กำาลังร่างในขณะนั้นผ่านการลงประชามติและข้อสุดท้ายคือ สกัดกั้นมิให้
กลุ่มอำานาจเดิมกลับเข้ามามีอำานาจอีกครั้งภายหลังการเลือกตั้ง อนึ่ง คมช. ยังอาศัยกลไกของกองอำานวยการ
11
รักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) (แต่เดิมขึ้น กอ.รมน. ขึ้นตรงต่อสำานักนายกรัฐมนตรี แต่หลังรัฐประหาร
กอ.รมน.ถูกปรับเปลี่ยนให้ขึ้นตรงต่อผู้บัญชาการทหารบก) เพื่อปิดปากและกดดันต่อผู้เห็นต่างทางการเมือง
โดย กอ.รมน. นับรวมภัยของความเห็นต่างทางการเมืองในหมู่ประชาชน ให้ถือว่าเป็นภัยคุกคามทัดเทียม
กับภัยคุกคามยาเสพติด การก่อการร้ายสากล การหลบหนีเข้าเมือง ปัญหาเรื่องชายแดน ภัยคุกคามทาง
สังคม โดยเฉพาะเยาวชน การตัดไม้ทำาลายป่า รวมถึงอาชญากรรมที่รุนแรง ขณะนั้น ทหารลงพื้นที่ตาม
12
หมู่บ้านเป้าหมายทั่วประเทศเพื่อทำาหน้าที่คอยติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มคนที่สนับสนุนรัฐบาลเก่า
13
ขณะเดียวกัน รัฐบาลยังได้มัดใจต่อกำานัน-ผู้ใหญ่บ้าน ให้พวกเขาดำารงตำาแหน่งได้จนถึงอายุ 60 ปี
ซึ่งนักวิเคราะห์จำานวนหนึ่งระบุว่า คมช. หวังซื้อใจเพื่อดึงให้กำานันผู้ใหญ่บ้านเข้ามาอยู่ในเครือข่ายของตน
โดยมุ่งหวังให้กำานันผู้ใหญ่โน้มน้าวมวลชนตามท้องที่ต่างๆ ให้หันมาสนับสนุน คมช. ทิ้งระยะห่างจาก
ทักษิณ ตลอดจนจับตาสอดส่องพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในท้องที่ 14
จากตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นว่า การรัฐประหารทั้งสองครั้งที่ผ่านมาต่างให้ความสำาคัญ
กับการบั่นทอนพลังและการสลายความทรงจำาของประชาชนที่มีต่อครอบครัวชินวัตร มีการจัดการกับ
ครอบครัวชินวัตรอย่างเป็นระบบและวางแผนมาเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการยึดทรัพย์ทักษิณ ชินวัตร
จำานวน 40,000 ล้านบาท การพิพากษาจำาคุกเขาเป็นเวลา 2 ปีในคดีที่ดินรัชดา รวมถึงการที่สภา
นิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งถูกแต่งตั้งโดย คสช. ได้ลงมติถอดถอนและตัดสิทธิ์ทางการเมืองห้าปี
ต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กรณีไม่ระงับยับยั้งความเสียหายในโครงการรับจำานำาข้าว ต่อมาศาลฎีกา
15
แผนกคดีอาญาของผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมือง พิพากษาจำาคุกเธอเป็นเวลา 5 ปี โดยมีมติเป็นเอกฉันท์
ไม่รอลงอาญาจากกรณีการระบายข้าว อนึ่ง ก่อนหน้านี้ รัฐบาลพรรคพลังประชาชนภายใต้ร่มเงาของ
16
ตระกูลชินวัตรคือ รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช (2551) และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (2551) ก็มีอันต้อง
หลุดจากตำาแหน่งเพราะการทำาหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญเช่นกัน ไม่เพียงเท่านั้น การรัฐประหารทั้งสอง
ครั้งยังนำาไปสู่การกำาหนดสถาบันทางการเมืองใหม่ โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 และ ปี 2560
ที่ให้อำานาจมหาศาลต่อองค์กรต่างๆ ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเพื่อควบคุมนักการเมือง ที่น่าสลดใจคือ
11 “บิ๊กบังชี้ เม.ย.-พ.ค. ม็อบป่วน” เดลินิวส์, 20 เมษายน 2550 หน้า 1,14
12 นายมั่งคั่ง, “กอ.รมน. ยึดเงียบ” บ้านเมือง, 9 พฤศจิกายน 2549 หน้า 5.
13 นิธิ เอียวศรีวงศ์, “ประชาธิปไตยอันมีกองทัพอยู่ข้างบน” มติชน, 11 ธ.ค. 2549 หน้า 6
14 ทรงพล ศรีสุวรรณ, “ท่ออำานาจ” มติชน, 7 พฤษภาคม 2550 หน้า 6
15 Isranews Agency, “อวสาน “ยิ่งลักษณ์” มติสนช. 190:18 ตัดสิทธิ์การเมือง 5 ปี “นิคม-สมศักดิ์” รอด,” (23 มกราคม
2558), https://www.isranews.org/isranews-news/36021-yingluck01_36021.html (เข้าถึงเมื่อ 24 มกราคม 2558)
16 BBCTHAI, “สั่งจำาคุก 5 ปี ยิ่งลักษณ์ ไม่รอลงอาญา คดีจำานำาข้าว,” (27 กันยายน 2560), https://www.bbc.com/
thai/thailand-41409927 (เข้าถึงเมื่อ 28 กันยายน 2560)