Page 66 - kpiebook62011
P. 66

62






               มีการแจ้งยอดภาษีที่ต้องเสียให้แก่ผู้เสียภาษีแล้ว ถือได้ว่าเกิดภาระหนี้ภาษีแล้ว หากยังไม่ชำระภาษีจะถูกบังคับให้

               ต้องชำระตามภาระหนี้ภาษีที่เกิดนั้น

                     ภาษีทรัพย์สินในประเทศเม็กซิโกทำรายได้ให้เป็นจำนวนมาก ประมาณ 30% ของรายได้ภาษีทั้งหมด

               หรือประมาณ $200 ล้านในปี ค.ศ. 1973 และจากการนำภาษีประเมินพิเศษมาใช้ในช่วงเวลาดังกล่าว
               เกิดโครงการต่างๆ ที่ใช้งบประมาณไม่น้อยกว่า $440 ล้าน ซึ่งทั้งหมดนี้ ภาษีประเมินพิเศษทำรายได้ประมาณ

               $313 ล้าน โดยมีการชำระภาษีเป็นงวดๆ ภายในระยะเวลา 5 ปี ถึง 10 ปี โครงการต่างๆ ส่วนใหญ่มีรายได้จาก
               การใช้ภาษีนี้ มีการกล่าวถึงกันเป็นพิเศษถึงโครงการขนาดใหญ่พัฒนาเขตเมือง ซึ่งประกอบด้วยระบบ
               ชลประทาน ระบบระบายนํ้าเสีย เครือข่ายถนนสายหลักและสายรอง ซึ่งเม็กซิโกมีการนำภาษีประเมินพิเศษ

               มาใช้กับโครงการขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                     จากตัวอย่างการใช้ภาษีประเมินพิเศษของประเทศสหรัฐอเมริกา โคลอมเบีย และเม็กซิโก ที่ยกมาข้างต้น
               นั้น สังเกตได้ว่าแต่ละประเทศก็มีการปรับใช้ที่แตกต่างกันไป และมีลักษณะเด่นเฉพาะตัวที่ควรพิจารณา ดังนี้


                     ประเทศสหรัฐอเมริกาเน้นการปรับปรุงพัฒนาเมือง โดยเฉพาะการปรับปรุงพื้นที่เสื่อมโทรม ลดความ
               แออัดของเมือง เน้นเรื่องสวัสดิการในท้องถิ่น มีการจัดสรรที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม และมีสิ่งอำนวยความสะดวก

               ขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ทั้งยังเปิดกว้างให้มีการใช้กับโครงการได้หลากหลายตามความต้องการของ
               ท้องถิ่น โดยได้กำหนดนิยาม “การปรับปรุงพัฒนา” และ “พื้นที่เสื่อมโทรม” ไว้อย่างกว้างๆ ทำให้รูปแบบ

               การปรับปรุงพัฒนามีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงพัฒนาในเรื่องสาธารณูปโภคพื้นฐาน หรือ
               การพัฒนาเมืองด้านเศรษฐกิจการค้า มีขั้นตอนดำเนินการอย่างเป็นระบบและเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน
               มีการจัดสรรภาษีประเมินพิเศษ 20% เพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในพื้นที่โครงการ และในส่วนของการคำนวณ

               ภาษี ใช้วิธีการจัดเก็บภาษีการเพิ่มมูลค่าซึ่งจัดเก็บผ่านภาษีทรัพย์สินโดยไม่ต้องขึ้นอัตราภาษี

                     ประเทศโคลอมเบียเน้นผลในทางปฏิบัติ คือต้องการให้ได้จำนวนภาษีครอบคลุม ค่าใช้จ่ายของโครงการ

               กฎหมายจึงไม่กำหนดเรื่องฐานภาษีและรูปแบบวิธีการประเมินที่ชัดเจน เพียงแต่กำหนดข้อจำกัดต่างๆ เป็นการ
               ให้ดุลพินิจเจ้าหน้าที่กำหนดฐานภาษีและรูปแบบวิธีการประเมินที่เหมาะสมกับแต่ละโครงการ ในส่วนของ

               การคำนวณภาษีเน้นใช้ปัจจัยหลายๆ ตัวมาช่วยคำนวณ โดยให้อำนาจเจ้าหน้าที่กำหนดปัจจัยต่างๆ มาใช้ใน
               การคำนวณภาษี ค่าใช้จ่ายของโครงการรวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เจ้าหน้าที่เห็นว่าจำเป็น และการจัดเก็บภาษี
               เน้นเก็บก่อนดำเนินโครงการ เพื่อให้แน่ใจว่ามีเงินทุนสำหรับโครงการ โดยส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่จะจัดเก็บภาษี

               เกินกว่าค่าใช้จ่ายไว้ก่อน เมื่อเหลือจึงจ่ายคืน

                     ประเทศเม็กซิโกเน้นการใช้ภาษีประเมินพิเศษในทุกระดับ มีกฎหมายและขั้นตอนวิธีการที่เป็นระบบ
               เป็นตัวอย่างที่ดีในการบัญญัติกฎหมายภาษีประเมินพิเศษ โดยมีกฎหมายหลักกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องสำคัญ

               กฎหมายลำดับรองกำหนดรายละเอียดของโครงการ จึงสามารถปรับใช้ได้กับโครงการทุกขนาด ทั้งโครงการ
               ระดับท้องถิ่นจนถึงโครงการระดับประเทศ เน้นการใช้ข้อมูลมาช่วยในการกำหนดพื้นที่โครงการและ

               การประเมินภาษี โดยพัฒนาระบบแผนที่ผังเมืองให้มีความสมบูรณ์ และเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยมี
               การให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการเพื่อให้ผู้เสียภาษีมีโอกาสโต้แย้งได้ง่าย








                                       พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71