Page 71 - kpiebook62011
P. 71

(3) เนื่องจากปัญหาหลักของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์คือค่าทดแทนที่ไม่เป็นธรรม คณะผู้วิจัยเสนอ

                        ให้พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
                        โดยกำหนดให้คณะกรรมการฯ ตามมาตรา 9 ต้องประกอบด้วยผู้แทนของประชาชนในพื้นที่

                        ที่จะเวนคืนด้วย การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวจะช่วยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการมากขึ้น
                        แทนที่จะต้องรอถึงขั้นตอนการอุทธรณ์ หรืออย่างน้อยควรพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติม โดยกำหนด
                        หลักเกณฑ์ในการรับฟังความคิดเห็นที่ชัดเจนก่อนการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์


                    (4) ค่าทดแทนที่ไม่เป็นธรรมนั้น ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากมิได้คำนวณความเสียหายที่วัดเป็นมูลค่าไม่ได้
                        จึงควรพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์

                        พ.ศ. 2530 ให้คำนึงถึงความสะดวกในการดำเนินชีวิตของผู้ถูกเวนคืนด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ที่ถูก
                        เวนคืนต้องย้ายถิ่นฐาน ควรมีบทบัญญัติเพิ่มเติมให้ครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายระหว่างหาที่อยู่ใหม่

                        ที่เหมาะสมด้วย

                    (5) นอกจากค่าทดแทนที่ไม่เป็นธรรมแล้ว ความล่าช้าก็เป็นปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่ง จึงควรพิจารณา
                        แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 11 และมาตรา 28 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืน

                        อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 โดยกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน เช่น ไม่เกิน 60 วัน หากเกินกว่านั้น
                        หน่วยงานของรัฐต้องแสดงเหตุผลต่อผู้มีสิทธิ์รับค่าทดแทน


                    (6) พิจารณาออกพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 21 วรรคสี่ ที่บัญญัติว่า “การคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์
                        ใดมีราคาสูงขึ้นตามวรรคสอง หรือลดลงตามวรรคสาม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนด
                        ในกฤษฎีกา” เพื่อใช้แทนกฎหมายฉบับเดิมที่ถูกยกเลิกไป


               7.2 การแก้ไขปัญหาในการนำอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืน

                      ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด



                     รายงานฉบับนี้เห็นด้วยกับแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
               พ.ศ. 2530 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ดังนี้

                    (1) กำหนดให้หน่วยงานที่จะดำเนินการเวนคืนต้องเสนอแผนงานและโครงการใช้ประโยชน์ที่ดิน

                        ให้ชัดเจน และรับฟังความเห็นจากประชาชน เพื่อมิให้มีการเวนคืนที่ดินเกินความจำเป็น

                    (2) หากหน่วยงานของรัฐได้เข้าใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่เวนคืนมาแล้วทั้งหมด ให้ถือว่า

                        อสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนมาตกเป็นของสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือที่ราชพัสดุแล้วแต่กรณี
                        และรัฐสามารถนำอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์เพื่อการอื่น หรือประโยชน์สาธารณะอื่น

                        เพิ่มเติมได้ หากไม่กระทบต่อการใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์เดิม












                                       พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76