Page 72 - kpiebook62011
P. 72
68
(3) หากหน่วยงานรัฐไม่สามารถเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินที่เวนคืนมาได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด สามารถ
เปลี่ยนวัตถุประสงค์การเวนคืนได้ โดยรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนที่ระยะเวลาที่กำหนดไว้
สิ้นสุดลง ก่อนจะตรากฎหมายเพื่อเปลี่ยนวัตถุประสงค์
(4) กำหนดให้คืนที่ดินที่เหลือจากการใช้ตามวัตถุประสงค์ต้องคืนให้แก่เจ้าของเดิมหรือทายาท
(5) กำหนดให้เจ้าของเดิมหรือทายาทใช้สิทธิขอคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์
ภายในระยะเวลา 10 ปี หากเลยระยะเวลาดังกล่าวให้อสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนมาตกเป็นของ
สาธารณสมบัติของแผ่นดิน เพื่อให้รัฐมาสามารถนำที่ดินดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ต่อไปได้ และ
(6) กำหนดให้ที่ดินที่ได้มาจากการตกลงซื้อขายภายในแนวเขตเวนคืนถือเป็นการซื้อขายตามมาตรา 456
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และไม่ถือเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จากการเวนคืน
ปัจจุบัน (มีนาคม 2560) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาอยู่ระหว่างการพิจารณายกร่างกฎหมายตาม
แนวทางดังกล่าว ตามมติคณะรัฐมนตรีเรื่อง แนวทางการนำที่ดินที่ได้จากการเวนคืนไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
วันที่ 6 กันยายน 2559
7.3 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมอื่นๆ
(1) เนื่องจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะ
โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ทางพิเศษ และรถไฟฟ้า ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น และการสร้างโครงสร้าง
พื้นฐานเช่นนี้ย่อมทำให้ผู้ถือครองอสังหาริมทรัพย์ในบริเวณใกล้เคียงได้รับประโยชน์โดยตรง จึงควร
พิจารณาออกกฎหมายว่าด้วยการประเมินพิเศษ (Special Assessment Levy) ตามที่กล่าวมา
ในหัวข้อที่ 6 ซึ่งจะช่วยเติมเต็มการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และ
ช่วยสร้างความเป็นธรรมในการพัฒนา เพราะผู้รับประโยชน์เป็นผู้รับภาระด้านการเงิน
(2) เนื่องจากมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 กำหนด
ให้การคำนวณเงินค่าทดแทนต้องคำนึงปัจจัยต่างๆ หลายประการ และหน่วยงานของรัฐแต่ละ
หน่วยงานนั้นมีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินราคาแตกต่างกันไป จึงควรมีการฝึกอบรม
เจ้าหน้าที่ให้มีความเชี่ยวชาญด้านการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น โดยอาจร่วมมือกับ
ผู้ประกอบวิชาชีพประเมินราคาทรัพย์สินภาคเอกชน เช่น สมาคมผู้ประเมินราคาทรัพย์สินแห่ง
ประเทศไทย (The Valuers Association of Thailand: VAT) และสมาคมนักประเมินราคา
อิสระไทย (Thai Valuers Association: TVA) หรือจ้างผู้ประเมินราคาภาคเอกชนมาพิจารณา
กำหนดเงินค่าทดแทนเพื่อเปรียบเทียบกับราคาที่คณะกรรมการกำหนด
(3) เนื่องจากมาตรา 21(2) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 กำหนด
ให้การคำนวณเงินค่าทดแทนต้องคำนึงราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530