Page 181 - kpiebook62005
P. 181

น าประกาศไปใช้ยังไม่มีผลชัดเจน การจัดท าโครงการวิจัยนี้จึงน่าจะท าให้เกิดการกระตุ้นการด าเนินงานในทางปฏิบัติ

            ให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ซึ่งทางผู้อ านวยการ สขร. มีแนวคิดจะจัดประชุม 3 ฝ่าย ได้แก่ สขร. นักวิจัยของสถาบัน
            สิ่งแวดล้อมไทย และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อทบทวนพัฒนาการการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมและ

            สุขภาพ ซึ่งรวมถึงบริบทต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไป เช่น การเปลี่ยนแปลงกฎหมาย การมีศาลปกครอง ซึ่งอาจส่งผลต่อการปรับ

            บทบาทในการด าเนินการ และจากนั้นจะเชิญหน่วยงานรัฐ ภาคประชาสังคม และผู้ที่สนใจถกในเวทีสาธารณะ และผล
            จากการหารือนั้นจะสามารถน าไปสู่การแก้ไขมาตรา 9(8) เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพได้ และในการเสวนาในวันนี้

            สขร. พร้อมจะรับฟังทุกความเห็นเพื่อน าไปปรับปรุงการด าเนินงานให้มีประสิทธิภาพ


            การอภิปราย เรื่อง แนวทางการปรับปรุงการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน :
                   คุณเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง (ผู้อ านวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ) กล่าวถึงประกาศ 16 รายการของมาตรา 9(8) และ

            เสนอให้แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ข้อมูลข่าวสารที่กฎหมายระบุให้ท า แต่อาจจะยังเข้าถึงยาก (ข้อ 1/2/9) ได้แก่

            กลุ่ม EIA EHIA และ post-EIA monitoring ซึ่งที่ผ่านมาพบว่ารายงานไม่มีความสมบูรณ์ ข้อมูลมีอยู่แต่อาจเชื่อถือไม่ได้
            ทั้งหมด และเข้าถึงได้ยากส าหรับประชาชน รวมถึงรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ กลุ่มที่ 2 ข้อมูลข่าวสารที่

            หน่วยงานรัฐมีการด าเนินงาน แต่ข้อมูลแทบจะไม่มีการเปิดเผย (ข้อ 10/11/12/13/14/16) โดยเฉพาะหัวข้อ 11

            สัญญาและสัมปทานต่าง ๆ เช่น กรณีการเรียกร้องให้เปิดเผยสัญญาซื้อขายก๊าซกับประเทศเมียนม่าของปตท. หรือ
            สัญญาสัมปทานเหมืองทองในพิจิตร จึงน่าจะเป็นกลุ่มที่สขร. ควรจะให้ความส าคัญเป็นพิเศษ ในหัวข้อใบอนุญาต

            ประชาชนหลายพื้นที่อยากทราบว่าใบอนุญาตก ากับโรงงานมีเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง ซึ่งหน่วยงานก ากับมี
            ข้อมูลแต่ไม่ถูกเปิดเผย และเป็นข้อมูลที่อาจส่งผลกระทบต่อความเสียหายของท้องถิ่นและประเทศ กลุ่มที่ 3 (ข้อ

            4/5/6/7/8/15) เป็นงานศึกษาวิจัยเฉพาะเรื่องของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งควรมีการสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์จาก
            รายงานเหล่านี้ให้มากขึ้น โดยเฉพาะที่จะช่วยสนับสนุนผู้ได้รับผลกระทบ เช่น การวิเคราะห์ตัวอย่างผลเลือดของ

            ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษซึ่งประชาชนอาจเข้าไม่ถึงและไม่สามารถได้รับข้อมูลเหล่านี้มาโดยง่าย และ กลุ่ม

            ที่ 4 เป็นกลุ่มข้อมูลข่าวสารที่ยังไม่มีข้อมูล แม้จะมีระบุในกฎหมาย โดยเฉพาะข้อ 3 ข้อมูลชนิดและปริมาณมลพิษที่
            ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันมีเพียงประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับรายงานชนิดและปริมาณมลพิษที่

            เกิดจากกระบวนการอุตสาหกรรม แต่ประกาศนี้ก็แตกต่างจากข้อมูลชนิดและปริมาณมลพิษที่ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม
            ที่สหประชาชาติระบุว่าหากไม่ทราบจะไม่สามารถจัดการมลพิษได้ จึงสนับสนุนให้มีกฎหมาย Pollutant Release and

            Transfer Register (PRTR) ซึ่งมีกว่า 50 ประเทศแล้วที่ประกาศใช้ ในประเทศไทย กรมควบคุมมลพิษเคยพยายาม

            ผลักดันในปี 2547 และปี 2552 ได้มีโครงการน าร่อง PRTR ที่จังหวัดระยอง
                   PRTR ควรแยกออกมาจากกฎหมายอื่น ๆ เนื่องจากมีจ านวนโรงงานในก ากับจ านวนมาก จ าเป็นต้องมี

            หน่วยงานเฉพาะที่สามารถดูแลฐานข้อมูลขนาดใหญ่และมีอ านาจให้ผู้ประกอบการส่งข้อมูลเข้ามาให้ได้ กฎหมายควร
            อยู่บนฐาน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ข้อมูลที่รายงานแล้วต้องมีการประมวลผลและเผยแพร่โดย

            สาธารณะเข้าถึงได้ และข้อมูลต้องเปิดเผยเป็นรายโรงงาน แต่โครงการน าร่อง PRTR ในระยอง และสมุทรปราการ ยัง

            เปิดเผยเพียงรายอ าเภอ และก ากับมลพิษเพียง 107 ชนิด ขณะที่บางประเทศมีหลายร้อยชนิด และในประกาศกรม
            โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีเพียง 20 ชนิด





                                                            3
   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186