Page 182 - kpiebook62005
P. 182
ส าหรับข้อมูลในรายการอื่น ๆ คุณเพ็ญโฉมให้ความเห็นว่าสิ่งที่หน่วยงานรัฐด าเนินการได้ทันที คือ การเปิดเผย
สัญญาสัมปทาน รวมถึงข้อตกลงการค้าเสรี 34 ฉบับ และข้อตกลงการลงทุนระหว่างประเทศอีกประมาณ 20 ฉบับที่
เกี่ยวข้องโดยตรงกับความมั่นคงของประเทศ โดยสัญญาควรต้องปรากฏต่อสาธารณะตั้งแต่เป็นร่างสัญญา และข้อตกลง
ระหว่างประเทศควรต้องมีการเผยแพร่ร่างและรับฟังความคิดเห็นก่อนเข้าที่ประชุมรัฐสภา
คุณณัติกาญจน์ สูติพันธ์วิหาร (นักวิจัยโครงการ) น าเสนอกรณีศึกษาที่ดีในการเข้าถึงข่าวสารเกี่ยวกับ
สิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน โดยน าเสนอปัจจัยในการขับเคลื่อนส าคัญ ทั้งการเคลื่อนไหวทางสังคม ปัจจัย
ทางการเมือง การจัดการความรู้ ซึ่งจะแปลงจากข้อมูลไปสู่ความรู้และปัญญา ปัจจัย และการพัฒนายุทธศาสตร์ควรเกิด
จากความคิดเห็นทั้งจากบนลงล่าง และจากล่างขึ้นบน
“ข้อมูลข่าวสารของราชการ” ตามนิยาม พรบ.ข้อมูลข่าวสาร พ.ศ.2540 หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ใน
ความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการด าเนินงานของรัฐหรือ
ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกชน หมวดหลักๆ ของพรบ.ข้อมูลข่าวสารฯ ได้แก่ หมวด 1 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร หมวด
2 ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผย หมวด 5 คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ หมวด 6 คณะกรรมการวินิจฉัย
การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร และหมวด 7 บทก าหนดโทษ
ตัวอย่างกระบวนการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ดี อ้างถึงเอกสารการศึกษาเรื่องการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของรัฐและ
การต่อต้านคอร์รัปชั่นในประเทศไทย โดย TDRI ในปี 2557 และมีข้อเสนอในหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้ ความสะดวกในการ
เข้าถึงข้อมูลข่าวสารฯ หมายถึง ความง่าย รวดเร็ว และค่าใช้จ่ายที่เป็นธรรม ในประเทศไทยเอกสารที่ต้องใช้ในการยื่น
ขอนั้นส่วนมากใช้เพียงส าเนาบัตรประชาชนเท่านั้น แต่ยังไม่สามารถขอข้อมูลทางวาจาได้ และค่าใช้จ่ายในการขอต้อง
เป็นต้นทุนที่แท้จริง โดยหน่วยงานควรแสดงค่าใช้จ่ายให้ผู้ร้องขอรับทราบ นอกจากนั้น หน่วยงานราชการทุกแห่งควรมี
หน้าเว็บเพจ และจัดท าดัชนีรายชื่อข้อมูลที่มีอยู่ในหน่วยงานทั้งหมด โดยแบ่งว่าข้อมูลไหนสามารถเข้าถึงได้โดยอัตโนมัติ
และข้อมูลที่หน่วยงานจะไม่เปิดเผยต้องแสดงเหตุผลชัดเจน หากต้องร้องขอ ต้องระบุผู้รับผิดชอบให้สามารถติดต่อได้
ควรมีการก าหนดรูปแบบของการเปิดเผยข้อมูลขั้นต่ าที่เป็นมาตรฐานกลาง ซึ่งจะท าให้การร้องขอข้อมูลเป็นไปได้ง่ายขึ้น
โดยเฉพาะส าหรับหน่วยงานในระดับท้องถิ่น
การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารฯ ต้องเปิดเผยโดยไม่เลือกปฏิบัติ โดยหลักการหน่วยงานจะปฏิเสธการเปิดเผยข้อมูล
ได้ก็ต่อเมื่อสามารถแสดงเหตุผลอย่างชัดเจนว่าการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวจะก่อให้เกิดความเสียหายที่เป็นรูปธรรม โดย
ควรจะมีรายละเอียดขอบเขตของการยกเว้นที่มีความชัดเจนในทางปฏิบัติเพื่อที่จะป้องกันมิให้หน่วยงานอ้างข้อยกเว้น
ดังกล่าวในการปฏิเสธ รวมถึงควรมีการประเมินผลได้ผลเสียที่เรียกว่า “Prejudice Test” หรือ “Harm Test” ว่า
ผลประโยชน์ที่สาธารณชนจะได้รับจากการเปิดเผยมากกว่าผลเสียของการเปิดเผยข้อมูลนั้นหรือไม่ หลักเกณฑ์ดังกล่าว
จะท าให้เรื่องอุทธรณ์ที่เข้ามาที่ส านักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ(สขร.)น้อยลงและสามารถเป็น
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเรื่องอุทธรณ์ส าหรับส านักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ(สขร.)ด้วย
ดร.กิตติพันธุ์ เทพารักษ์ษณากร (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) น าเสนอแนวทางการก ากับดูแลด้านสิ่งแวดล้อม
โรงงานและการจัดการข้อมูลข่าวสารของกรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีพัฒนาการเป็นล าดับตามบริบทและเทคโนโลยี
ที่เปลี่ยนไป ในยุคแรกช่วงก่อนปี พ.ศ. 2540 เป็นการก ากับดูแลสิ่งแวดล้อมโรงงานแบบปลายท่อ (End of Pipe
Control) เก็บข้อมูลตั้งแต่ค าขอ การผลิต จนปิดโรงงาน แต่ควบคุมเมื่อมลพิษออกมาแล้ว ยุคที่สองช่วงปี 2540-2551
4