Page 180 - kpiebook62005
P. 180

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยมี 4 ข้อ ได้แก่ 1) การทบทวนประเภทและรายการข้อมูลข่าวสารฯ ที่ควรจัดไว้

            ให้ประชาชนตรวจดูได้ตามมาตรา 9(8) โดยคณะผู้วิจัยได้จัดท ารายการข้อมูลทั้ง 16 รายการ พร้อมตัวอย่างข้อมูล และ
            หน่วยงานรับผิดชอบ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องพิจารณา 2) ศึกษาหลักการและกรณีศึกษาที่ดีในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารฯ ซึ่ง

            คณะผู้วิจัยยึดกรอบการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Government Data) หรือข้อมูลสารสนเทศของรัฐที่ให้บริการ

            อย่างเปิดเผย เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึง น าไปใช้งานต่อ และแจกจ่ายได้โดยไม่มีข้อจ ากัด จากการศึกษาหลักการต่าง
            ๆ และหารือกับตัวแทนผู้ใช้ข้อมูลในการประชุมกลุ่มย่อยในเดือนพฤศจิกายน 2561 คณะผู้วิจัยได้สรุปตัวชี้วัดในการ

            ประเมินการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ 3 ด้าน 15 ตัวชี้วัด ได้แก่ ด้านคุณภาพข้อมูล (ข้อมูลมี
            ความถูกต้องครบถ้วน มีกฎหมายและระเบียบชัดเจน ไม่ถูกปรุงแต่ง ทันสมัย เข้าใจง่าย ทันเวลา ตรงกับความต้องการ

            ของผู้ใช้) ด้านการเข้าถึงข้อมูล (สะดวกในการเข้าถึง เปิดเผยโดยไม่เลือกปฏิบัติ ไม่มีลิขสิทธิ์) และด้านการน าข้อมูลไป
            ใช้ประโยชน์ (สามารถน าไปใช้ประโยชน์โดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ทุกคนมีสิทธิใช้ข้อมูล มีความต่อเนื่องของข้อมูลที่

            ใช้ร่วมกัน มีกระบวนการร้องเรียน ตรวจสอบ แก้ไข และมีความคุ้มค่า) 3) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเผยแพร่

            ข้อมูลโดย ‘หน่วยงานที่รับผิดชอบข้อมูล’ และการเข้าถึงข้อมูลและการน าไปใช้โดย ‘ผู้ใช้ข้อมูล’ ซึ่งมีทั้งการน า 15
            ตัวชี้วัดประเมินการเผยแพร่ข้อมูลโดยหน่วยงานก ากับการปฏิบัติงาน หน่วยงานอนุญาตประกอบกิจการ และหน่วยงาน

            นโยบายรวม 6 หน่วยงาน และการศึกษาการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารฯของประชาชนในกรณีปกติโดยใช้กรณีศึกษาการ

            เข้าถึงข้อมูลคุณภาพน้ าดื่ม และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารฯในกรณีวิกฤต โดยใช้กรณีศึกษาการเข้าถึงข้อมูลสถานการณ์
            มลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็ก และ 4) การจัดท าข้อเสนอแนวทางการปรับปรุงการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

            และสุขภาพของประชาชน โดยกระบวนการการมีส่วนร่วมทั้งผู้ให้ข้อมูลและผู้ใช้ข้อมูล ซึ่งรวมถึงการจัดการเสวนาใน
            วันนี้ เพื่อน าเสนอแนวทางการปรับปรุงต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

                   อ.สนิท ชมชาญ (กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ) กล่าวเปิดการประชุม
            โดยเน้นว่าพรบ.ข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นกฎหมายที่ให้สิทธิแก่ประชาชนเป็นหลัก และหน่วยงานมีหน้าที่ให้ข้อมูล

            ข่าวสารกับประชาชน โดยมีคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารฯ เป็นคนกลางคอยก ากับดูแลและอ านวยความสะดวกให้

            ประชาชน และหากหน่วยงานแจ้งว่าไม่มีข้อมูลข่าวสาร ประชาชนสามารถร้องเรียนให้ตรวจสอบว่ามีหรือไม่ และถ้า
            ปฏิเสธไม่ให้หรือให้เพียงบางส่วน สามารถอุทธรณ์กับคณะกรรมการวินิจฉัยฯ ได้ และหากประชาชนยังไม่ได้รับข้อมูล

            สามารถฟ้องศาลปกครองได้
                   การประกาศข้อมูลข่าวสารมาตรา 9(8) ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ในปี 2551 นั้นเกิดขึ้นเนื่องจากเรื่อง

            สิ่งแวดล้อมเป็นความจ าเป็นเร่งด่วน การด าเนินการใช้เวลา 2 ปี แต่ยังเป็นเพียงกรอบใหญ่ แต่ละเรื่องมีรายละเอียดอีก

            มาก หลังการประกาศ กขร. โดยส านักงานข้อมูลข่าวสารของราชการ (สขร.) จึงได้เชิญหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบ
            กฎหมาย 34 ฉบับ และอนุสัญญา 11 ฉบับ รวมเป็นหน่วยงานหลักผู้ดูแล 20 หน่วยงาน มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นว่า

            แต่ละหน่วยงานมีข้อมูลอะไรบ้างที่ต้องเปิดเผย นอกจากนั้น สขร. ยังได้น ามาตรา 9(8) บรรยายในที่ต่าง ๆ ท าเอกสาร
            เผยแพร่ มีการตรวจเยี่ยมและตรวจเว็บไซต์หน่วยงาน แต่อาจครอบคลุมได้ยากเนื่องจากข้อจ ากัดด้านบุคลากร รวมถึง

            เป็นแนวทางให้คณะกรรมการวินิจฉัยได้ใช้ในกระบวนการวินิจฉัยข้ออุทธรณ์ต่าง ๆ

                   อย่างไรก็ตาม จากการส ารวจตั้งแต่ปี 2553 ถึงปัจจุบัน ยังพบว่าเรื่องร้องเรียนมีน้อยมากที่ส่งไปที่กขร. ด้าน
            เรื่องอุทธรณ์ที่ผ่านมาพบกรณีขอข้อมูลโรงไฟฟ้าชีวมวล และการก่อสร้างบ่อขยะ จึงอาจสรุปได้ว่าใน 9 ปีที่ผ่านมาการ





                                                            2
   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185