Page 176 - kpiebook62005
P. 176
กระบวนการผลิตอ้อยที่ท าให้เกิดปัญหาเผาพื นที่ไร่อ้อยเริ่มจากส านักงานคณะกรรมการอ้อยและน าตาล
ทราย (สอน.) ได้ก าหนดวันเริ่มต้นวันหีบอ้อยผลิตน าตาลทราย ฤดูการผลิตปี 2561/62 ตั งแต่วันที่ 1 ธันวาคม
2561 ถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ท าให้เกษตรกรต้องรีบตัดอ้อยส่งโรงงาน นั่นคือ การเผาไร่อ้อย เพื่อให้
สะดวกในการตัดและเก็บขน
ปัญหาฝุ่นจากภาคอุตสาหกรรมยังอาจเชื่อมโยงไปสู่ภาคเมืองด้วย จากข้อสังเกตของมูลนิธิบูรณะนิเวศว่า
ฝุ่นควันจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและอื่น ๆ ในภาคตะวันออก และจากฝั่งสมุทรสาคร นอกจากนี ยังพบ
โรงงานอุตสาหกรรมจ านวนมากที่ใช้ถ่านหินเป็นพลังงานซึ่งไม่ได้อยู่การตรวจสอบผลกระทบจากรัฐ ฝุ่นควันเหล่าน
นี ลอยไปสมทบกับฝุ่นควันที่อยู่เมืองกรุงเทพฯและปริมณฑล แต่เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลการวัดการปล่อยฝุ่นจาก
โรงงาน ท าให้ไม่สามารถสรุปได้ว่า ฝุ่น pm 2.5 จากภาคอุตสาหกรรมได้ซ าเติมฝุ่นควันในเมืองหรือไม่ เพียงใด
สรุปปัญหาฝุ่นควันโรงงานอุตสาหกรรมขณะนี คือ ขาดการวัดปริมาณและชนิดฝุ่นที่ปลายปล่องโรงงาน
ท าให้ขาดข้อมูลปริมาณสารพิษที่โรงงานอุตสาหกรรมสร้างขึ น และไม่มีการจัดทาบัญชีการระบายมลพิษทาง
อากาศ (PRTR ) จากโรงงานอุตสาหกรรม
ฝุ่นในกรุงเทพฯ มีที่มาจาก เกิดปรากฏการณ์อากาศปิดแบบโดมความร้อนผกผัน ท าให้ฝุ่นลอยคว้างใน
อากาศนานขึ น ด้วยสภาพอาคารสูงมีโอกาสได้รับผลกระทบสูงจากการเคลื่อนตัวของฝุ่น PM 2.5 เพราะฝุ่นลอยตัว
ต่ าในช่วงเช้า แต่พอเริ่มสาย ฝุ่นจะลอยตัวสูงขึ น
สาเหตุฝุ่น PM 2.5 ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มาจาก รถยนต์ ร้อยละ 55 (ทั งจากการเผาไหม้ที่สมบูรณ์
และไม่สมบูรณ์ และจากผ้าเบรก) การเผาไหม้ที่โล่งแจ้ง ร้อยละ 14 ฝุ่นทั่วไปและงานก่อสร้าง ร้อยละ 9 ฝุ่นข้าม
พรมแดน ร้อยละ 6 ฝุ่นจากดินและถนน ร้อยละ 1
โดยสรุปสาเหตุหลักมาจากรถยนต์ที่เผาพลาญพลังงานฟอสซิล ปล่อยฝุ่นควัน ในสภาวะการจราจร
คมนาคมขนส่งมีส่วนสร้างมลภาวะฝุ่นมาก โครงสร้างผังเมืองที่แออัด ไม่เอื อต่อการระบายอากาศ และมีความ
เป็นได้สูงที่ฝุ่นควันจากอุตสาหกรรมในปริมณฑลก็แผ่มาถึงเมือง
ปัญหาข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ นในภาคเมืองก็เช่นเดียวกับภาคอื่น ๆ คือ รัฐยังไม่มีระบบตรวจวัดคุณภาพ
อากาศที่ละเอียด ครอบคลุมทุกพื นที่ จุดตรวจวัดคุณภาพอากาศยังมีน้อย และเป็นภาพรวม แต่หน่วยงานต่าง ๆ
เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล พื นที่สาธารณะต่าง ๆ กระทั่งชุมชน ไม่มีเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศเพื่อประเมิน
สถานภาพอย่างเฉพาะเจาะจง
5