Page 177 - kpiebook62005
P. 177
นอกจากนี ข้อมูลเรื่องหน้ากากป้องกันฝุ่นมีความสับสน เช่น หน้ากาก N95 หรือใช้วัสดุทดแทน วิธีการใช้
ที่เหมาะสม และการเข้าถึงก็ยังมีปัญหา
นอกจากขาดการวัดที่ละเอียดทั่วถึง ระบบฐานข้อมูลเรื่องคุณภาพอากาศก็มีความสับสน แต่ละหน่วยงาน
ใช้ค่าดัชนีคุณภาพอากาศที่แตกต่างกัน เช่น กรมควบคุมมลพิษ ใช้ฐานข้อมูล (air4thai.pcd.go.th) แต่ก็ยังมี
หน่วยงานต่างประเทศ คือ The World Air Quality Project มีระบบข้อมูล (aqicn.org) หรือของ IQ Air
(airvisual.com) ใช้วิธีที่ต่างกัน ท าให้ค่าที่ได้ต่างกัน แต่ละหน่วยงานใช้เครื่องมือ จุดวัด และการประมวลผลที่
แตกต่างกันท าให้ได้ค่าดัชนีที่ต่างกัน สร้างความสับสนให้กับหน่วยงานต่าง ๆ
สรุปสาเหตุหลักๆ คือ รัฐขาดการก าหนดมาตรฐานฝุ่น 2.5 ในระดับที่ปลอดภัยเป็นที่ยอมรับ ยังไม่มีการ
วัดการปล่อยในแหล่งก าเนิดอย่างละเอียด ทั งภาคเกษตร เมือง และอุตสาหกรรมอย่างแยกแยะ เจาะจง ไ ม่ มี
ข้อมูลปริมาณสารพิษ และการจัดท าบัญชีการระบายมลพิษทางอากาศ และผลกระทบจากสารพิษที่ชัดเจน ขาด
การประเมินผลกระทบในทุกมิติทั งในระดับโครงการและภาพรวม ขาดการน าข้อมูลมาวิเคราะห์ปัญหาเชิง
โครงสร้าง ที่มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน ขาดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา ใช้ประโยชน์ และ
ประเมินข้อมูลอย่างทั่วถึง
คุณจริยา เสนพงศ์ กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรื่องสิทธิการเข้าถึงข้อมูลมลพิษทางอากาศ
ประเทศไทยเริ่มตรวจวัดฝุ่น pm 2.5 ตั งแต่ปี 2544 ต่อมาในปี 2547 กรมควบคุมมลพิษก็ได้ให้
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศึกษามาตรฐานฝุ่น pm 2.5 ซึ่งได้เสนอเกณฑ์ปลอดภัยรายปีที่ 12 ไมโครกรัมต่อ
ลูกบาศก์เมตร และราย 24 ชม.ที่ 35 ไมโครกรัม จนปี 2553 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมได้ก าหนดมาตรฐานรายปี
ที่ 25 ไมโครกรัม และราย 24 ชั่วโมงที่ 50 ไมโครกรัม และในปี 2556 องค์การอนามัยโลกได้ก าหนดให้ฝุ่น pm
2.5 จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 สารก่อมะเร็ง
ในฝุ่น pm 2.5 ประกอบด้วยสารพิษ เช่น พีเอเอช ปรอท แคดเมียม และอาร์เซนิกที่สร้างอันตรายต่อ
สุขภาพ
กรีนพีชได้ใช้ข้อมูลกรมควบคุมมลพิษมาจัดล าดับเมืองที่มีปัญหาฝุ่น pm 2.5 10 อันดับสูงสุดได้แก่ สระบุรี
กรุงเทพฯ (ดินแดง) เชียงใหม่ ล าปาง ขอนแก่น ราชบุรี กรุงเทพฯ (วังทองหลาง) สมุทรสาคร ระยอง กรุงเทพฯ
(พญาไท) สงขลา ชลบุรี
6