Page 183 - kpiebook62005
P. 183
ปรับบทบาท เน้นการลดมลพิษที่ต้นทาง สนับสนุนให้โรงงานใช้เทคโนโลยีสะอาด ส่งเสริมระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
(EMS) ให้มีบุคลากรสิ่งแวดล้อมประจ าโรงงาน และมีการรายงานข้อมูลแบบฟอร์ม รว.1,2,3 ยุคที่สามช่วงปี 2551-
2560 เน้นความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น โดยเฉพาะพัฒนาชุมชนรอบข้าง ตามแนวคิดอุตสาหกรรมสีเขียวและ
อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และในยุคปัจจุบัน การเชื่อมโยงข้อมูลท าได้ง่ายขึ้น พรบ.โรงงานที่เพิ่งผ่านจะมีเรื่องของการ
รับรองตนเองของผู้ประกอบกิจการ ผู้ตรวจสอบเอกชน (third party) รวมถึงแนวคิด circular economy เพื่อให้ใช้
ทรัพยากรน้อยที่สุด ในส่วน PRTR ก็มีการริเริ่ม แต่ก็อาจต้องค่อยเป็นค่อยไปและระบุผู้ที่เข้าข่ายจะเป็นกลุ่ม
อุตสาหกรรมใดบ้างเนื่องจากมีทั้งเรื่องค่าใช้จ่าย และบุคลากรที่ต้องมีความรู้ความเข้าใจ
นอกเหนือจากพรบ.โรงงาน การก ากับโรงงานมีหลายหน่วยงาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ต้องช่วยกันดูแล
เช่น พรบ. สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข แรงงาน ทรัพยากรน้ า วัตถุอันตราย เป็นต้น รวมถึงเครื่องมือมีทั้งกฎหมาย ระบบ
การจัดการสิ่งแวดล้อม การรายงาน รวมถึงเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ เช่น pollution tax อีกกลไกส าคัญหนึ่งคือ
บุคลากรสิ่งแวดล้อม คนต้องมีความรู้และความรับผิดชอบ โดยมีการขึ้นทะเบียนบุคลากร ประกอบด้วย ผู้จัดการ
สิ่งแวดล้อม ผู้ควบคุมระบบบ าบัด และผู้ปฏิบัติงานประจ าเครื่อง แบ่งหน้าที่และตรวจสอบกันเอง
กองที่เกี่ยวข้องในการจัดการสิ่งแวดล้อม ได้แก่ กองส่งเสริมสิ่งแวดล้อมโรงงาน in-house lab กองที่ดูแลเรื่อง
กากอุตสาหกรรม ซึ่งมีการอนุญาตการจัดการกาก และมีการส่งรายงาน ศูนย์ภูมิภาค ส านักงานอุตสาหกรรมจังหวัดที่
ส่งไปที่ศูนย์ภูมิภาค ปัจจุบันรายงานเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ท าให้จัดการข้อมูลได้ดีขึ้น
การพัฒนาด้านข้อมูลข่าวสาร กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนผ่านมาจากทั้งหมด 17 ประเภท เช่น โรง
กระดาษ โรงซีเมนท์และโรงเหล็ก ต่อมาปี พ.ศ. 2535 ถึงปัจจุบันน ามาปรับปรุงเป็นฉบับที่ 2 และ 3 ในปี และตั้งแต่ปี
พ.ศ.2562 ใช้กลไกเอกชนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการก ากับดูแล นโยบายกระทรวงพยายามท า MOI
single form กับ big data ไม่ให้ผู้ประกอบการเป็นภาระ ข้อมูลพยายามร่วมกับกระทรวงพาณิชย์เรื่องนิติบุคคล
รวมถึงการขออนุญาตต่าง ๆ ทางอิเล็กทรอนิกส์เช่น การอนุญาตกากอุตสาหกรรม และการส่งรายงานต่าง ๆ
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 การเริ่มประกาศพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร มีศูนย์ข้อมูลข่าวสารบนเว็บไซต์ อาจมี
ประเด็นในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง การหมุนเวียนภารกิจและการปรับโครงสร้างเนื้อหา มีข้อมูล
สัญญาสัมปทาน เช่น เตาเผาขยะเพราะต้องมีการต่อใบอนุญาต มีรายละเอียดประชาพิจารณ์ก่อนการตั้งโรงงาน มีการ
บริการหลายช่องทาง เช่น การจดทะเบียนต่าง ๆ single stop service และรับยื่นเรื่องได้ที่เว็บไซต์กรมโรงงาน มีข้อมูล
การตรวจสอบการเผยแพร่มลพิษระยะไกลในส่วนอากาศ (CMS) และน้ า (OPMS) สามารถเข้าไปดูในเว็บไซต์ แต่
บางส่วนจะเป็น level ให้ authorize นอกจากนั้น มีการเผยแพร่ข้อมูลหน้าโรงงานต่อประชาชนหลายแบบ เช่น เป็น
display monitoring board บนจุดที่เสี่ยงเช่น หน้านิคมมาบตาพุด หลังคาโรงงานหรือหน้านิคมต่าง ๆ ที่มี
อุตสาหกรรมหนาแน่น รวมถึงรถ mobile ในการติดตามคุณภาพอากาศ
สิทธิที่ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อาทิ หากเกิดความเสียหายสามารถใช้พรบ.โรงงาน ค่าปรับสูงสุด 200,000 บาท
การเปรียบเทียบคดี คดีทางระบบศาลสามารถด าเนินคดีอาญาได้ ให้มีการชดใช้สินไหม ทั้งศาลปกครองและศาล
ยุติธรรม ในส่วนของคดีมีคณะกรรมการดูแล เช่น ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรงงานและการไม่ต่อสัญญาโรงงาน
5