Page 184 - kpiebook62005
P. 184
ดร.เรืองเกียรติ สุวรรณโนภาส (เครือข่ายคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินมวกเหล็ก) ให้ความเห็นว่าเมื่อยินยอมให้
ปรับค่าปรับสูงสุดที่กรมโรงงานสามารถปรับได้เพียง 200,000 บาทแล้วคดีสิ้นสุด โรงงานส่วนใหญ่มีมูลค่าสูง จะยอม
จ่าย เพื่อให้ไม่ต้องถูกด าเนินคดีต่อไป
ดร.กิตติพันธุ์ แนะว่ามีความเชื่อมโยงอื่น ๆ อีก อาจจะใช้ประมวลกฎหมายอาญา แพ่งและพาณิชย์ บางส่วนใช้
พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย เพราะพระราชบัญญัติโรงงาน เน้นเรื่องกระบวนการ และ
การปลดปล่อยมลพิษ แต่ถ้าเกี่ยวข้องกับส่วนอื่น ๆ ก็ใช้กฎหมายอื่น ๆ ร่วมด้วยได้
คุณศิริเนตร กล้าหาญ (ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ) ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบ
ราชการ (กพร.) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานการพัฒนาระบบราชการในภาพรวม ให้ความส าคัญของการเข้าถึงข้อมูล
ข่าวสารในแง่ความโปร่งใสและการมีส่วนร่วม ซึ่งเดิมในช่วงปี 2550-2552 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเป็นตัวชี้วัด KPI
หนึ่งของส านักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการที่ทุกหน่วยงานต้องมีการเปิดเผยตามพระราชบัญญัติข้อมูล
ข่าวสาร โดยในช่วงแรกวัดในด้านขั้นตอนคือส่วนราชการจะต้องมีการเปิดเผยข้อมูล เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง การบริหาร
จัดการข้อมูลข่าวสาร การวางระบบที่ชัดเจน เข้าสู่ระบบอย่างไร และต้องมีการจัดอบรมและการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
วิธีการเข้าถึงข้อมูลให้แก่ประชาชน เช่น เว็บไซต์ของหน่วยงาหรือผ่านอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งผลการติดตามพบว่าส่วน
ราชการส่วนใหญ่ท าได้ดี ต่อมาในปี พ.ศ. 2560 มีมติคณะรัฐมนตรีให้เป็นปีในเรื่องของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร
ของทุกส่วนราชการ มีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารของทุกหน่วยงาน ต้องมีการวางระบบและมีเจ้าหน้าที่ และมีดัชนี
สารสนเทศฐานข้อมูลว่ามีข้อมูลอะไรบ้างเผยแพร่ทางเว็บไซต์หน่วยงาน
ส านักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการท าหน้าที่เป็นหน่วยงานกลาง วาง template กลางไว้ให้ทุก
ส่วนราชการที่ต้องท ารายงาน เพื่อเป็นการสร้างความโปร่งใสและป้องกันการทุจริตในภาครัฐ เมื่อมีมติคณะรัฐมนตรี
รองรับอยู่แล้วจึงเป็นสิ่งที่หน่วยงานต้องท า ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการจึงไม่ได้ใช้เป็นตัวชี้วัดอีก โดย
หน่วยงานกลางระหว่างสภาพัฒน์ฯ ส านักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และส านักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบ
ราชการพยายามบูรณาการร่วมกันในการจัดท าตัวชี้วัด ได้พยายามปรับปรุงตัวชี้วัดเดียวกันแต่ต่างที่วัตถุประสงค์ เช่น
กพร. วัดในเรื่องของผลกระทบ ขณะที่ส านักงบประมาณดูในเรื่องของความคุ้มค่าวัดในระดับแผนงานของโครงการ
ปัจจุบันยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนแม่บท และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 มีตัวชี้วัด
เป้าหมาย และตัวชี้วัดย่อย ส่วนราชการจะต้องรายงานว่าโครงการต่าง ๆ สอดรับกับแผนต่าง ๆ ได้อย่างไร ในยุค 4.0
ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการสนับสนุนผลักดันให้ทุกส่วนราชการใช้เทคโนโลยีในการลดขั้นตอนการ
ท างานและอ านวยความสะดวกให้ประชาชนในการบริการและลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ ภาครัฐควรบอก
รายละเอียดขั้นตอนการท างานและระบุหน่วยงานผู้รับผิดชอบเป็นคู่มือของประชาชน ปัจจุบันประชาชนสามารถเข้าดู
ข้อมูลได้ที่ศูนย์รวบรวมข้อมูลเพื่อการติดต่อราชการหรือ info.go.th ซึ่งอาจไม่มีได้มีแค่เรื่องสิ่งแวดล้อมแต่รวมเรื่องต่าง
ๆ ไว้ รวมถึงมีระบบการรับข้อร้องเรียนจากประชาชน
นอกจากนั้น กพร. มีการวัดการด าเนินงานของหน่วยงานตามหน้าที่หลักของหน่วยงานโดยเฉพาะหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมเช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงอุตสาหกรรม เช่น กรมโรงงาน
ท าการวัดเชิงปริมาณของกากอุตสาหกรรม ส่วนกรมควบคุมมลพิษในเรื่องของขยะ และคุณภาพอากาศ ข้อมูลเหล่านี้
6