Page 140 - kpiebook62005
P. 140
6. กรณีศึกษาประเด็นข้อมูลสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่ส าคัญ
คณะผู้วิจัยศึกษาและตรวจสอบการเผยแพร่ การเข้าถึง และการนาข้อมูลไปใช้ โดยใช้กรณีศึกษา
ประเด็นข้อมูลสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่ส าคัญใน 2 รูปแบบ ได้แก่ การให้ข้อมูลในสถานการณ์ปกติ โดยเลือก
กรณีการให้ข้อมูลข่าวสารในเรื่องคุณภาพน าดื่ม และการให้ข้อมูลในสถานการณ์เหตุวิกฤต โดยเลือกกรณีการ
ให้ข้อมูลข่าวสารในสถานการณ์มลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็ก และได้ด าเนินการศึกษา และจัดการประชุม
อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการปรับปรุงการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
และสุขภาพของประชาชน โดยผู้แทนจากทั งกลุ่มผู้ให้ข้อมูล และภาคประชาสังคมผู้รับข้อมูล จากกรณีศึกษา
ทั งสองกรณีดังกล่าว ผลการศึกษาดังต่อไปนี
6.1 กรณีศึกษาการเข้าถึงข้อมูลความปลอดภัยของน าดื่ม
ความส าคัญของการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านคุณภาพน าดื่มของประชาชน
น าเป็นปัจจัยพื นฐานที่ส าคัญในการด ารงชีวิต ข้อพิจารณาพื นฐานในการจัดบริการน าบริโภคของ
ชุมชนในด้านปริมาณ จะต้องมีความเพียงพอต่อความต้องการ โดยก าหนดการใช้ขั นต่ า 5 ลิตรต่อคนต่อวัน
ครอบคลุมถึงน าดื่ม น าที่ใช้ประกอบอาหาร และการล้างหน้าแปรงฟัน ซึ่งปริมาณที่เพียงพอยังขึ นอยู่กับปัจจัย
ประกอบต่าง ๆ เช่น ลักษณะภูมิอากาศ พฤติกรรมการใช้น า และระยะทางการเข้าถึงแหล่งน า เป็นต้น ส าหรับ
ด้านคุณภาพจะต้องเป็นน าที่สะอาด ปลอดภัย ปราศจากเชื อโรค ไม่มีสารละลายและสิ่งเจือปนต่าง ๆ ที่เป็น
อันตรายหรืออาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคทั งด้านกายภาพ เคมี และชีววิทยาตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน า
บริโภค การจัดหาน าสะอาดจะส่งเสริมและป้องกันให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี และเอื อให้เกิดประโยชน์ในด้าน
ต่าง ๆ ต่อสาธารณะ อาทิ ช่วยลดอัตราการเกิดโรคเนื่องจากน าเป็นพาหะ เช่น โรคพิษจากโลหะหนักและ
สารเคมี โรคตับอักเสบจากเชื อไวรัส โรคท้องร่วง ท้องเสีย เป็นต้น และส่งเสริมการพัฒนาด้านสุขาภิบาลและ
สิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เนื่องจากน าเป็นทรัพยากรธรรมชาติอันมีจ ากัดและเป็นทรัพยากรสาธารณะที่จ าเป็นขั น
พื นฐานต่อชีวิตและสุขภาพ สิทธิเกี่ยวกับการเข้าถึงน าสะอาดหรือการที่ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับน าอย่าง
เพียงพอ ปลอดภัย เข้าถึงได้โดยทางกายภาพ ในราคาที่สามารถจ่ายได้จึงเป็นสิ่งจ าเป็นอย่างมาก และเป็นหนึ่ง
ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ในเป้าหมายที่ 6 การท าให้มีน าดื่มที่ปลอดภัยและราคา
เหมาะสมภายในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านคุณภาพน าดื่มของประชาชน จะเป็น
องค์ประกอบส าคัญในการสนับสนุนเป้าหมายและสิทธิการเข้าถึงน าสะอาดดังกล่าว
-113-