Page 136 - kpiebook62005
P. 136
ก าหนดระยะเวลาไว้ไม่เกิน 2 เดือนในการให้ข้อมูล ดังนั้นในระบบจึงตอบกลับยังผู้ร้องขอว่าข้อมูลอยู่ในสถานะ
รอการด าเนินการ รอการตรวจสอบและรอระหว่างด าเนินการ
ข้อมูลของภาครัฐกระจัดกระจายตามหน่วยงานที่รับผิดชอบแต่ละเรื่อง ขาดการบูรณาการเป็นราย
ประเด็นและรายพื้นที่ จึงยุ่งยากในการค้นหาและการใช้งาน
ข้อเสนอแนะและตัวอย่างที่ดี
ในยุคสังคมข้อมูลข่าวสารออนไลน์ E-government และ Open Government รัฐบาลควรมีนโยบาย
และแนวทางปฏิบัติในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของภาครัฐ โดยเฉพาะข้อมูลที่ไม่ใช่ความมั่นคงและไม่ใช่ข้อมูล
ส่วนบุคคล โดยไม่จ าเป็นต้องมีการวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว และควรถือเป็น
คุณสมบัติหรือผลงานที่ส าคัญ ไม่จ าเป็นต้องให้ส านักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารภาครัฐมาเป็นหน่วยงาน
กลางในการบังคับใช้พรบ. ข่าวสาร
ควรมีการจัดท าฐานข้อมูลภาครัฐในรูปแบบ Big data ตามรายประเด็นและรายพื้นที่ เช่น เรื่องการ
บริหารจัดการน้ า คุณภาพน้ าตามระบบนิเวศไม่ใช่เป็นรายต าบล รายอ าเภอ รายหมู่บ้าน และพิจารณาเป็นราย
พื้นที่เช่น พื้นที่พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) และพิจารณาจัดท าข้อมูลที่ไม่ใช่แยกส่วน เช่น
น้ ากิน น้ าใช้ น้ าเพื่อเกษตร น้ าเพื่ออุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการบูรณาการข้อมูลซึ่งจะท าให้เกิดความชัดเจนใน
การใช้และวิเคราะห์อย่างมีประสิทธิภาพแก่ทุกภาคส่วน
ควรให้มีการจัดเก็บข้อมูลแบบที่ภาคประชาชนมีส่วนร่วมทั้งในการจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์และการ
ใช้ข้อมูลเพื่อลดผลกระทบ ร่วมกันแก้ไขปัญหาและระดมทรัพยากรในการพัฒนาร่วมกัน
ตัวอย่างที่ดี เช่น ศูนย์ด ารงธรรมจังหวัดชลบุรี
http://damrongdham.chonburi. go.th/ webdamrongdham/main/contact ซึ่งรับข้อร้องเรียนและ
ด าเนินงานติดตาม ตรวจสอบและแจ้งผลกลับมาในเวลาที่เหมาะสมไม่นานมาก และประชาสัมพันธ์กิจกรรม ให้
ทราบผลอีกด้วยที่ http://damrongdham.chonburi. go.th/webdamrongdham/news/cate2 พร้อมกับ
จัดท าสถิติข้อร้องเรียนเป็นรายเดือน
http:// damrongdham. chonburi. go.th/webdamrongdham/sysdamrongdham/report
พร้อมกับเปิดโอกาสให้ประชาชนประเมินความพึงพอใจด้วย
http://damrongdham. chonburi.go.th / webdamrongdham/poll/poll_answer
-109-