Page 135 - kpiebook62005
P. 135
ข้อเสนอแนะ :
- กรมโรงงานฯ ควรมี list รายการข้อมูลที่เปิดเผยแจ้งให้ประชาชนทราบ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของกรม
สามารถใช้ประกอบการพิจารณา
- ข้อมูลสถิติต่าง ๆ ควรท าเป็นระบบฐานข้อมูลเดียวกันและให้ทุกหน่วยงานมี format เดียวกัน
5.3 ผลการสัมภาษณ์ตัวแทนผู้ใช้ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
คณะผู้วิจัยได้สัมภาษณ์ตัวแทนผู้ใช้ข้อมูล 3 ท่าน ได้แก่ ดร. สมนึก จงมีวศิน (เครือข่าย EEC Watch)
นายสรายุทธ สนรักษา (เครือข่ายเพื่อนตะวันออก: วาระเปลี่ยนตะวันออก) และนางเรวดี ประเสริฐเจริญสุข
(ผู้อ านวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน) ในเดือนมิถุนายน 2562 สรุปสาระส าคัญได้ดังนี้
ประสบการณ์ในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารภาครัฐ
ก่อนที่รัฐบาลจะใช้มาตร 44 มีประสบการณ์ที่ดีในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารภาครัฐ เช่นกรมโยธาธิการ
และผังเมือง ส านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพราะหน่วยงานให้ความส าคัญ
และร่วมมือในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารแก่องค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาชนโดยตรงและผ่าน
คณะท างานร่วมภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน แต่ต่อมาขั้นตอนในการเปิดเผยยุ่งยากมากขึ้นและใช้
เวลานานมากขึ้น เพราะต้องผ่านการอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาและคณะกรรมการต่าง ๆ
การเข้าถึงข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ สะดวกมากยิ่งขึ้นและสามารถ download เอกสารได้แทนการไป
ถ่ายเอกสารหรือการเดินทางไปติดต่อที่หน่วยงานเจ้าของข้อมูล และมีหลายหน่วยงาน เช่น ศูนย์ด ารงธรรม
จังหวัดชลบุรีได้เปิดเผยข้อมูลเช่น บันทึกการประชุมระหว่างหน่วยงานท้องถิ่น โดยไม่ต้องร้องขอ อย่างไรก็ตาม
บางส่วนก็ให้ข้อมูลเพียงสรุปย่อเท่านั้น
การร้องขอข้อมูลผ่านระบบออนไลน์สะดวกโดยไม่จ าเป็นต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป
ยังหน่วยงานเจ้าของข้อมูล แต่ไม่ทราบว่าการร้องขอมีสถานะทางกฎหมายรองรับเหมือนจดหมายหรือไหม
ปัญหาอุปสรรคในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารภาครัฐ
หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ มักจะมีแนวโน้มการเปิดเผยข้อมูลเฉพาะสรุปย่อหรือให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน
หรือเป็นข้อมูลที่ไม่ทันสมัย
การร้องขอข้อมูลใช้เวลานานมาก เนื่องจากหน่วยงานใช้เวลานานในการวินิจฉัยและตามพรบ. ข้อมูล
ข่าวสารไม่มีบทลงโทษหากล่าช้าซึ่งแตกต่างจากการร้องขอของส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนซึ่ง
-108-