Page 137 - kpiebook62005
P. 137

5.4   สรุปประเด็นส าคัญ ปัจจัยส่งเสริม และอุปสรรคในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของ

                       ประชาชน

                       ผลการศึกษาข้อมูลและการสัมภาษณ์สามารถสรุปประเด็นส าคัญ ปัจจัยส่งเสริม และอุปสรรคในการ

               เข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนได้ 3 ด้าน ดังนี้

               1)  ด้านหลักการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารและการด าเนินงานของเจ้าหน้าที่รัฐ

                     หลักการเปิดเผยข้อมูลข่าวภาครัฐให้ความส าคัญการตอบสนองกับบริการแก่เป็นภาคผู้ประกอบการ

                       เอกชนหรือบริษัทที่ปรึกษาหรือหน่วยงานภายในกระทรวงกรมกองเดียว หรือข้อมูลข่าวสารประชา

                       สัมพันธ์ทั่วไปส าหรับประชาชนทั่วไป และยังไม่ครอบคลุมผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือนักวิจัย นักวิชาการ


                       ซึ่งศึกษาผลกระทบจากแผนงานและโครงการของภาครัฐ ท าให้ข้อมูลที่จ าเป็นหลายๆ เรื่องขาดหายไป

                       หรือไม่ครบถ้วน เช่น ระบบข้อมูลกากของเสียอันตราย รายงานผลการศึกษาเกี่ยวกับระดับการ

                       ปนเปื้อนของสารพิษในอาหาร สถานการณ์ และการควบคุม

                     ดัชนีชี้วัดผลการด าเนินงานด้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารยังไม่ได้เน้นที่คุณภาพของข้อมูลข่าวสารที่

                       ภาครัฐเปิดเผยดังนั้นหน่วยงานภาครัฐจึงเน้นปริมาณข้อมูลข่าวสาร หัวข้อและความรู้ประชาสัมพันธ์

                       การด าเนินงาน และจ านวนผู้เข้าชมเว็บไซต์เป็นส าคัญ

                     เนื่องจากไม่มีการก าหนดองค์ประกอบของข้อมูลตามมาตรา 7 และมาตรา 9 ที่หน่วยงานของรัฐต้อง


                       เปิดเผยโดยอัตโนมัติและผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (เว็บไซต์ของหน่วยงาน) ให้ชัดเจน ดังนั้นจึง

                       พบว่าหลายหน่วยงานเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามดุลยพินิจของผู้บริหาร กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ที่

                       รับผิดชอบและในหลายกรณีภาคประชาชนไม่ทราบว่าภาครัฐมีข้อมูลอะไรและข้อมูลประเภทไหนที่

                       เปิดเผยได้บ้าง ท าให้เกิดความล่าช้าในการขอรับข้อมูลหรือไม่ได้รับข้อมูลและมีความไม่พึงพอใจต่อ

                       บริการของภาครัฐ

                     ขาดกฎหมายที่คุ้มครองเจ้าหน้าที่ที่เปิดเผยข้อมูลโดยสุจริตรวมทั้งหน่วยงานที่สังกัด และไม่มี

                       หลักเกณฑ์ประเมินผลประโยชน์สาธารณะจากการเปิดเผย และผลเสียจากการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร

                       เพื่อให้หน่วยงานได้พิจารณาในเบื้องต้น ลดการใช้ดุลยพินิจ ดังนั้นทั้งหน่วยงานและเจ้าหน้าที่จึง

                       หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบที่จะเป็นภาระจากการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารแทน


                     เนื่องจากอ านาจหน้าที่ของ สขร. เป็นเพียงผู้ก ากับให้เกิดการเปิดเผยข้อมูล โดยไม่มีบทลงโทษ ดังนั้น

                       จึงพบว่าการปฏิบัติเพื่อเปิดเผยข้อมูลข่าวสารยังไม่มีประสิทธิภาพ

                     การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารยังพิจารณาว่าเป็นความลับ ข้อมูลรายละเอียดเปิดเผยเฉพาะเจ้าหน้าที่หรือ

                       ภาคผู้ประกอบการเอกชนหรือบริษัทที่ปรึกษาหรือหน่วยงานภายในกระทรวงกรมกองเดียวซึ่งจะต้อง



                                                          -110-
   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142