Page 113 - b30427_Fulltext
P. 113
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
โดยแบ่งผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมกันทุกทีม สะท้อนให้เห็นแนวคิดสังคมนิยม
ที่ปะปนอยู่ด้วย 100
หากแบ่งองค์กรกีฬาในสหรัฐฯ โดยพิจารณาความเป็นเจ้าของ
(Ownership) จำแนกเป็นหน่วยงานภาครัฐทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการกีฬาของชาติ
เรียกโดยทั่วไปว่า National Governing Body (NGB) เช่น คณะกรรมการโอลิมปิก
สหรัฐ (United States Olympic Committee: USOC) กับองค์กรเอกชน (Private
Organization) เช่น NCAA, NFL, NBA องค์กรกีฬาที่พบส่วนใหญ่ล้วนจัดอยู่ใน
จำพวกหลังเป็นหลัก สโมสรกีฬาอาชีพของสหรัฐอเมริกาดำเนินกิจการในรูปแบบ
ตัวแทนการค้า (Franchises) ซึ่งมีทั้งแบบที่เป็นเจ้าของรายเดียวหรือกรรมสิทธิ์เดี่ยว
(Sole Proprietorship) หรือห้างหุ้นส่วน (Partnership) และบริษัท (Corporation) 101
อนึ่ง ในสายตาของกระบวนการยุติธรรมมักมองไปในทิศทางสอดคล้องกันว่าองค์กร
กีฬาเหล่านี้มิใช่หน่วยงานของรัฐที่อยู่ในบังคับของรัฐธรรมนูญ กฎเกณฑ์ขององค์กร
102
กีฬาจึงเป็นอิสระจากรัฐ กอปรกับอเมริกาไม่ได้มีกระทรวงการกีฬาหรือหน่วยงานของ
รัฐที่คอยกำกับดูแลด้านการกีฬาโดยตรง รัฐจึงมีบทบาทเรื่องนี้ค่อนข้างน้อย หรือจะ
เข้าไปแทรกแซงก็ต่อเมื่อเป็นกรณีที่เกี่ยวกับเรื่องผลประโยชน์ขัดกัน ความน่าเชื่อถือ
หรือการกระทำละเมิดต่อกฎหมายว่าด้วยการผูกขาด เพื่อควบคุมดูแลให้เกิดความเป็น
ธรรมเท่านั้น เช่นเดียวกับศาลที่พยายามระมัดระวังการใช้อำนาจ เป็นต้นว่า
103
104
รับพิจารณาเฉพาะคดีที่เห็นว่าองค์กรกีฬา (ตัวแสดงภาครัฐ) ล่วงละเมิดรัฐธรรมนูญ
100 Roger Domeneghetti, “NFL v Premier League: Socialism v Capitalism in sport
format,” Just Football, 15 April 2011, Accessed March 7, 2021, http://www.just-football.com/
2011/04/nfl-v-premier-league-socialism-v-capitalism-in-sport-format/.
101 ดูเพิ่มเติม Andras Gurovits, The Sports Law Review, 2nd ed. (London: Law
Business Research Ltd, 2016): 259-261.
102 Matthew Mitten, Timothy Davis, Rodney Smith, Kenneth Shropshire, and Barbara
Osborne, Sports Law: Governance and Regulation, 2nd ed. (New York: Wolters Kluwer,
2016): 30-31.
103 ชนมภูมิ งามภูพันธ์, “มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการกระทบกระเทือนทางสมองจาก
การแข่งขันกีฬา,” วารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์ 11, ฉ.1 (มกราคม-มีนาคม 2561): 67.
104 ในคดี Harding v United States Figure Skating Association (1994) ศาลของรัฐบาลกลาง
ได้ให้ข้อสังเกตไว้ในคำพิพากษาว่า “ศาลต้องใช้ความระมัดระวังก่อนเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับข้อพิพาทอันเกิดจาก
กฎระเบียบของสมาคมเอกชน การเข้าไปตรวจสอบสมควรใช้เฉพาะสถานการณ์พิเศษเท่านั้น” อ้างถึงใน
Ian S. Blackshaw, International Sports Law: An Introductory Guide, 78.
102
สถาบันพระปกเกล้า