Page 108 - b30427_Fulltext
P. 108
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
เดิมที่ตั้งเรียงรายตามแนวชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก ต่อมาจึงขยายตัวไปทางทิศตะวันตก
จนถึงอีกฟากหนึ่งของทวีป ปัจจุบันประกอบด้วย 50 มลรัฐ (State) ดำรงอยู่ภายใต้
รัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองสำคัญเดียวกันในระดับชาติ หรือที่โดยรวมเรียกว่า
รัฐบาลกลาง (Federal Government)
การแบ่งสันปันส่วนอำนาจระหว่างรัฐบาลกลางกับมลรัฐนั้น ย่อมเป็นไป
ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญของสหรัฐ อำนาจรัฐบาลกลางตามที่ถูกระบุไว้
ในรัฐธรรมนูญแบ่งออกเป็น 3 ด้านหลัก ดังนี้
(1) บทบาททางด้านเศรษฐกิจการคลัง เช่น เก็บภาษีอากร ผลิตเงินตรา
ค้าขายกับต่างประเทศ
(2) บทบาททางด้านการทหาร เช่น จัดการป้องกันประเทศ ประกาศ
สงคราม
(3) บทบาททางด้านการต่างประเทศ เช่น ทำสนธิสัญญากับต่างประเทศ
นอกจากนี้รัฐบาลกลางยังมีอำนาจโดยนัยหรือโดยปริยาย (Implied
Power) ที่จะออกกฎหมายต่าง ๆ โดยอ้างหลัก “จำเป็นและเหมาะสม” (necessary
and proper) เพื่อให้การดำเนินการตามนโยบายและอำนาจหน้าที่ดังกล่าวบรรลุผล
ตัวอย่างอำนาจที่ไม่ได้ถูกระบุลงในรัฐธรรมนูญให้เป็นของสภาคองเกรส แต่อนุมานได้
ว่ามี เช่น รัฐธรรมนูญไม่ได้ให้รัฐบาลมีอำนาจที่จะก่อตั้งธนาคาร ทว่าด้วยความจำเป็น
ในเรื่องการจัดเก็บภาษีย่อมสามารถทำได้ ขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญก็จำกัดอำนาจ
(Power Denied) ของทั้งรัฐบาลสหรัฐและรัฐบาลมลรัฐหลายต่อหลายเรื่อง เช่น
ห้ามเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของมลรัฐ (กรณีสหรัฐ) ห้ามผลิตเงินตรา (กรณีมลรัฐ)
เป็นต้น (ดูภาพที่ 1 ประกอบ) 91
91 ศึกษาเพิ่มเติมจาก ณัฐกร วิทิตานนท์, “ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลาง มลรัฐ และองค์กร
ปกครองท้องถิ่นในสหรัฐอเมริกา : บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ คำตัดสินของศาลสูงสุด และมาตรการเชิง
งบประมาณ,” ใน บรรณาธิการโดยไพโรจน์ กัมพูสิริ, หนังสือที่ระลึกครบรอบการก่อตั้ง 15 ปี นิติศาสตร์
มฟล. (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2561): 155-179.
สถาบันพระปกเกล้า